Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจประสบการณ์ทั้งทางกายและทางจิตใจของผู้ฝึกปฏิบัติหะฐะโยคะ ตามทัศนะของผู้ฝึกปฏิบัติซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ตรง เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการนำศาสตร์หะฐะโยคะมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนานักจิตวิทยาการปรึกษา ดำเนินการวิจัยโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแนวปรากฏการณ์วิทยา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ปฏิบัติหะฐะโยคะเป็นรายบุคคลจำนวน 8 ราย ทำการบันทึกเทปและถอดข้อความแบบคำต่อคำ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงประสบการณ์ของผู้ฝึกปฏิบัติหะฐะโยคะ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3. ประเด็นหลัก คือ แรงจูใจในการปฏิบัติหะฐะโยคะ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติหะฐะโยคะ และผลที่เกิดจาการปฏิบัติหะฐะโยคะ ประเด็นที่ 1 แรงจูใจในการปฏิบัติหะฐะโยคะ แบ่งออกเป็น (1) แรงจูงใจเกี่ยวกับร่างกาย (2) แรงจูงใจเกี่ยวกับจิตใจ และ (3) แรงจูงใจที่เกดจากความสนใจศาสตร์หะฐะโยคะ ประเด็นที่ 2 ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติหะฐะโยคะ แบ่งออกเป็น 10 ด้าน คือ (1) ความรู้สึกสงบ (2) ความรู้สึกถึงการกำหนดลมหายใจ (3) ความรู้สึกถึงสมาธิ (4) ความรู้สึกผ่อนคลาย(5) ความรู้สึกปลอดโปร่งจากความไม่สบายใจ (6) ความรู้สึกมุ่งมั่นตั้งใจจริง (7) ความรู้สึกอดทนเพียรพยายาม (8) ความรู้สึกถึงคุณค่าของหะฐะโยคะ (9) ความรู้สึกว่าหะฐะโยคะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต และ (10) ความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับบรรยากาศสภาพแวดล้อมในการฝึก และประเด็นที่ 3 ผลที่เกิดจากการปฏิบัติหะฐะโยคะแบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ (1) ผลทางด้านร่างกายที่เกิดจรกการปฏิบัติหะฐะโยคะ (2) ผลทางด้านจิตใจที่เกิดจากการปฏิบัติหะฐะโยคะ และ (3) ผลที่เกิดจากการปฏิบัติหะฐะโยคะด้านการดำเนินชีวิตประจำวัน ผลการวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงศักยภาพาของศาสตร์หะฐะโยคะที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนานักจิตวิทยาการปรึกษาในวิถีภูมิปัญญาตะวันออก