dc.contributor.advisor |
เกษม ชูจารุกุล |
|
dc.contributor.author |
ตุลยา อรุณรังสิกุล |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-07-23T05:12:43Z |
|
dc.date.available |
2022-07-23T05:12:43Z |
|
dc.date.issued |
2564 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80023 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
|
dc.description.abstract |
อุบัติเหตุทางถนนเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 1 ในกลุ่มสาเหตุภายนอกของการป่วยและการตายของกลุ่มเด็กอายุ 0 – 14 ปี ในประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา โดยมีอัตราการใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กน้อยกว่าร้อยละ 1 เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักถึงความปลอดภัยในการใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตั้งใจต่อการใช้งาน พฤติกรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้งานอุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับเด็ก เพื่อกำหนดนโยบายและข้อเสนอแนะในการเพิ่มอัตราการใช้งานอุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับเด็ก โดยใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน (Theory of Planned Behavior: TPB) ซึ่งได้เก็บข้อมูลแบบสอบถามออนไลน์ จากผู้ปกครองของเด็กอายุ 0 – 12 ปี ในโรงเรียนเอกชน 2 แห่ง ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 815 ตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) ผลการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาและแบบจำลองสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) พบว่า เหตุผลหลักที่ไม่ได้ใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับเด็ก คือ เด็กไม่ยอมใช้อุปกรณ์ความปลอดภัย โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจต่อการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับเด็ก ได้แก่ ความสนใจและการแนะนำอุปกรณ์ความปลอดภัย การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การเข้าถึงอุปกรณ์ความปลอดภัย การบังคับใช้กฎหมายและการจัดโครงการส่งเสริมการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัย และความเคยชินต่อการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัย ซึ่งระดับการศึกษาที่สูงขึ้นและจำนวนเด็กในความดูแลที่มากกว่า 1 คน มีแนวโน้มที่จะมีความตั้งใจต่อการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับเด็กเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามควรจัดโครงการส่งเสริมการเผยแพร่ความรู้การใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับเด็ก เพื่อให้ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญและเพิ่มการใช้งานอุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับเด็กอย่างถูกต้อง ตลอดจนการรับมือกับพฤติกรรมการปฏิเสธของเด็กอย่างเหมาะสม |
|
dc.description.abstractalternative |
A road traffic accident is the first leading external cause of morbidity and mortality for the age group 0 - 14 years old in Thailand since 2015. The child restraint system (CRS) use rate is less than 1% due to the lack of knowledge, perception, and awareness about CRS. This study investigates the intention toward child safety equipment (CSE) use, user behavior, and factors that affect the behavior for policy suggestions to increase the use rate of CSE based on the Theory of Planned Behavior (TPB). Utilizing an online-based questionnaire survey, 815 samples were collected from parents of 0 - 12 years old in two private schools in Bangkok using the cluster sampling method. The data were analyzed using descriptive statistics and structural equation modeling (SEM). Results indicate that the main reason the child safety equipment is not in use is due to the refusal by children. The factors that affected the intention toward CSE usage included the interest, willingness to recommend, subjective norms, CSE accessibility, law enforcement, promotion project, and habitude of using safety equipment. Moreover, both higher education levels of parents and the number of children, except the only child family, are more likely to use CSE. However, the CSE information should disseminate to parents to increase awareness and correct use rate, along with handling child defiant behavior appropriately. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.918 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Engineering |
|
dc.title |
ความตั้งใจต่อการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับเด็กภายในตัวรถ |
|
dc.title.alternative |
Intention toward using child safety equipment in vehicles |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
วิศวกรรมโยธา |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2021.918 |
|