dc.contributor.advisor |
ปารวี วาศน์อำนวย |
|
dc.contributor.author |
กิตติยา ทองอ่อน |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-07-23T05:13:04Z |
|
dc.date.available |
2022-07-23T05:13:04Z |
|
dc.date.issued |
2564 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80042 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
|
dc.description.abstract |
น้ำเสียจากอุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของปัญหาสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันกระบวนการเร่งสลายด้วยแสงโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาแสงดูดซับแสงอาทิตย์และสลายสารอินทรีย์ได้รับความสนใจสำหรับการสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย คอปเปอร์ซิงค์ทินซัลไฟด์ (CZTS) เป็นสารกึ่งตัวนำที่มีค่าสัมประสิทธิ์การดูดซับสูงและมีศักยภาพในการใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาแสง อนุภาคนาโน CZTS สามารถเตรียมได้จากหลายวิธี อย่างไรก็ตามวิธีโซล-เจลไม่เคยถูกใช้ในการสังเคราะห์อนุภาค CZTS เพื่อนำมาใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาแสงสำหรับกระบวนการเร่งสลายด้วยแสง ในงานวิจัยนี้สังเคราะห์อนุภาคนาโน CZTS ด้วยวิธีโซล-เจลและวิธีไฮโดรเทอร์มอลเพื่อทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบ CZTS ที่สังเคราะห์โดยวิธีไฮโดรเทอร์มอลมีความเป็นผลึกสูงและมีขนาดผลึกประมาณ 20 นาโนเมตร ในขณะที่ CZTS ที่สังเคราะห์โดยวิธีโซล-เจลมีขนาดผลึกประมาณ 5 นาโนเมตร กิจกรรมการเร่งสลายด้วยแสงของ CZTS วิเคราะห์ได้จากการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของเมทิลีนบลูภายใต้การฉายแสงในช่วงที่มองเห็น 94.62% และ 51.13% ของเมทิลีนบลูถูกย่อยสลายหลังจากเวลาผ่านไป 15 ชั่วโมงโดยใช้ CZTS ที่สังเคราะห์ด้วยวิธีไฮโดรเทอร์มอลและวิธีโซล-เจล ตามลำดับ เพื่อเพิ่มกิจกรรมการเร่งสลายด้วยแสง ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ถูกใช้ร่วมกับ CZTS ทำให้สามารถสลายเมทิลีนบลูได้ถึง 96.93% และ 42.87% โดยใช้ CZTS ที่สังเคราะห์ด้วยวิธีไฮโดรเทอร์มอลและวิธีโซล-เจล ตามลำดับ ภายในเวลา 3 ชั่วโมง ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์จะช่วยเพิ่มปริมาณอนุมูลไฮดรอกซิลสำหรับการสลายเมทิลีนบลู |
|
dc.description.abstractalternative |
Textile wastewater has been recognized as one of the roots that causes environmental problems. Nowadays photocatalysis, in which a photocatalyst absorbs a sunlight and degrades organic molecules, has attracted attention for degradation of organic pollutants in wastewater. Cu2ZnSnS4 (CZTS) is a semiconductor with high absorption coefficient which can be used as an efficient photocatalyst. CZTS nanoparticles can be prepared by several solution-based methods, however, a sol-gel method has never been used to synthesize CZTS photocatalyst for a photocatalysis process. In this study, two different methods of sol-gel and hydrothermal were used to synthesize CZTS nanoparticles and investigated for comparison. CZTS synthesized by hydrothermal method were of high crystallinity with crystallite size of about 20 nm. While CZTS synthesized by sol-gel method had crystallite size of about 5 nm. The photocatalytic activity of CZTS was examined to degrade methylene blue (MB) under visible light irradiation. 94.62% and 51.13% of MB was degraded after 15 h using CZTS synthesized by hydrothermal and sol-gel, respectively. To enhance the photocatalytic activity, hydrogen peroxide (H2O2) was also used with CZTS, 96.93% and 42.87% of MB was degraded after 3 h using CZTS synthesized by hydrothermal and sol-gel, respectively. Hydrogen peroxide assisted to generate more hydroxyl radicals for MB degradation. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.890 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Chemical Engineering |
|
dc.subject.classification |
Engineering |
|
dc.title |
การเร่งสลายเมทิลีนบลูด้วยแสงโดยใช้อนุภาคนาโนคอปเปอร์ซิงค์ทินซัลไฟด์ที่สังเคราะห์จากวิธีโซลเจลและวิธีไฮโดรเทอร์มอล |
|
dc.title.alternative |
Photocatalytic degradation of methylene blue using Cu2ZnSnS4 nanoparticles synthesized by sol-gel and hydrothermal methods |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
วิศวกรรมเคมี |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2021.890 |
|