dc.contributor.advisor |
ฉัตรพันธ์ จินตนาภักดี |
|
dc.contributor.author |
ณัฐวุฒิ ชวดฉิม |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-07-23T05:13:17Z |
|
dc.date.available |
2022-07-23T05:13:17Z |
|
dc.date.issued |
2564 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80053 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
|
dc.description.abstract |
ปัจจุบันอุตสาหกรรมการก่อสร้างที่อยู่อาศัยได้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร โดยการก่อสร้างระบบคอนกรีตหล่อสำเร็จ เป็นวิธีการก่อสร้างที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งจะสามารถควบคุมคุณภาพของชิ้นส่วนให้มีความแข็งแรง และใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างที่หน้างานลดลง ในช่วงก่อนที่กฎกระทรวงฉบับที่ 46 (พ.ศ.2540) และกฎกระทรวง พ.ศ.2550 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 จะมีผลบังคับใช้ มิได้คำนึงถึงการคำนวณและการออกแบบให้โครงสร้างอาคารให้รับแรงแผ่นดินไหว ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงที่อาคารจะเกิดความเสียหายของโครงสร้างได้ งานวิจัยนี้จึงเลือกพิจารณาอาคารตัวอย่างเป็นอาคารที่พักอาคารจำนวน 2 ชั้น โดยมีจุดต่อระหว่างเสาและคานเป็นแบบแผ่นเกี่ยว (socket) และจุดต่อระหว่างเสาและเสาเป็นแบบสลักเกลียว (bolting) โดยจะทำการเปรียบเทียบแบบจำลองทั้งหมด 3 แบบ คือโครงสร้างคอนกรีตหล่อในที่ (cast-in-place concrete) โครงสร้างคอนกรีตหล่อสำเร็จเมื่อพิจารณาส่วนยื่นของคาน และโครงสร้างคอนกรีตหล่อสำเร็จเมื่อไม่พิจารณาส่วนยื่นของคาน โดยทั้ง 3 แบบจะใช้แบบอาคารเดียวกัน และสมมติที่ตั้งของอาคารตัวอย่างอยู่ที่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่และสมมติประเภทของชั้นดินเป็นประเภท D ซึ่งจะทำการวิเคราะห์โครงสร้างภายใต้แผ่นดินไหวโดยวิธีการผลักทางด้านข้าง (pushover analysis) และวิธีวิเคราะห์การตอบสนองไม่เชิงเส้นประวัติเวลา (Nonlinear Response History Analysis) ตามมาตรฐาน มยผ.1301/1302-61 โดยสร้างแบบจำลองชิ้นส่วนเสาและคานเป็นแบบเชิงเส้นและไม่เชิงเส้นในโปรแกรมวิเคราะห์โครงสร้าง ETABS V18 และกำหนดจุดรองรับเป็นแบบยึดแน่น เพื่อประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้นในชิ้นส่วนของโครงสร้างและการเคลื่อนตัวสัมพัทธ์ระหว่างชั้น ผลการศึกษาพบว่าอาคารตัวอย่างทั้ง 3 แบบมีค่าอัตราส่วนระหว่างแรงที่ต้องต้านทานต่อกำลังที่หน้าตัดรับได้ (DCR) มีค่ามากกว่า 1 หมายความว่าหน้าตัดเสาและคานไม่สามารถรับแรงที่เกิดขึ้นได้ ในส่วนของการประเมินความเสียหายโดยรวมของอาคารจากความเสียหายที่เกิดขึ้นในองค์อาคารและการเคลื่อนตัวสัมพัทธ์ระหว่างชั้นพบว่าอาคาร CIP มีความเสียหายไม่ผ่านเกณฑ์ระดับป้องกันการพังทลาย สำหรับอาคาร PCB มีความเสียหายอยู่ในเกณฑ์ของระดับป้องกันการพังทลาย ซึ่งเป็นระดับที่มีความเสียหายรุนแรงมาก สุดท้ายอาคาร PCNB มีความเสียหายไม่ผ่านเกณฑ์ระดับป้องกันการพังทลาย |
|
dc.description.abstractalternative |
Over the past few years, real estate has grown in Thailand due to population growth rate and economic growth rate. Currently, precast concrete system is increasingly popular for construction industry. Because, the quality of components can be better controlled, and the construction duration can be reduced. Before Ministerial Regulation No.46, B.E.2540 (1997) Issued pursuant to the Building Control Act, B.E. 2522 (1979) came into force, the design of building did not consider the earthquake-resistance structures. For this reason, the building may be severely damaged due to an earthquake. Precast concrete buildings using socket connections between beam-column and bolt connections between column-column are studied. Three types of construction are compared: cast-in-place concrete structure, precast concrete structure with cantilevered beam, and precast concrete structure without cantilevered beam. The studied buildings are located in Chiang Mai city and site class D is assumed. The seismic analysis are pushover analysis and nonlinear response history analysis according to DPT.1301/1302-61. The studied buildings are modelled both of linear and nonlinear models using ETABS structural analysis software and support is assumed as fixed. Evaluation is based on inelastic deformations and inter-story drifts. The results show that Demand–Capacity Ratio (DCR) from CIP, PCB, and PCNB structures exceed 1 implying that the current buildings do not have sufficient strength to resist earthquakes. In terms of the structural performance levels classified by structural damage and inter-story drift, CIP and PCNB structures would be damaged beyond collapse prevention performance level (>CP) and PCB structure would be within collapse prevention performance level (CP). |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.917 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Engineering |
|
dc.title |
การวิเคราะห์ความต้านทานแผ่นดินไหวของอาคารที่พักอาศัยคอนกรีตหล่อสำเร็จที่จุดต่อระหว่างเสาและคานเป็นแบบแผ่นเกี่ยว |
|
dc.title.alternative |
Seismic resistance by analysis of precast concrete residential buildings with socket beam-column joint |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
วิศวกรรมโยธา |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2021.917 |
|