Abstract:
เนื่องจากข้อได้เปรียบด้านวัตถุดิบและกำลังการผลิต ประเทศไทยจึงเป็นผู้นำอุตสาหกรรมยางรถยนต์ในด้านการผลิตและส่งออก กระนั้นการส่งออกยางรถยนต์ยังคงขาดประสิทธิภาพในด้านต้นทุนการขนส่งและอรรถประโยชน์เชิงปริมาตรของตู้คอนเทนเนอร์เนื่องจากลักษณะกายภาพของสินค้าดังเช่นบริษัทยางรถยนต์กรณีศึกษา บริษัทกรณีศึกษาใช้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมยางรถยนต์นำเข้าในภูมิภาคและส่งออกยางที่ผลิตในประเทศไปทั่วโลก จากการวิเคราะห์ข้อมูลในอดีตพบว่าแผนส่งออกยางมีความคาดเคลื่อนส่งผลให้ต้องการจัดทำเอกสารศุลกากรอีกครั้งเกิดการเคลื่อนย้ายที่ซ้ำซ้อน (Double Handling)งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความคลาดเคลื่อนโดยการทำนายจำนวนยางรถยนต์ในตู้คอนเทนเนอร์ อ้างอิงจากขนาดทางกายภาพของยาง สำหรับการบรรจุยาง 2 รูปแบบ หลังจากการวิเคราะห์ข้อมูลการบรรจุในอดีตและขนาดทางกายภาพ ได้ประยุกต์ใช้แบบจำลองถดถอยเชิงเส้นกับข้อมูลการบรรจุและพัฒนา 4 แบบจำลองที่แตกต่างกัน ได้แก่ แบบจำลอง Simple Regression, All Possible, Stepwise and The Best Subset Selection ในอีกทางหนึ่ง ความสัมพันธ์เชิงเรขาคณิตระหว่างคอนเทนเนอร์กับขนาดทางกายภาพของยางได้ถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาวิธีการทำนายยางที่มีข้อมูลการบรรจุไม่เพียงพอ ผลการเปรียบเทียบกับแบบจำลองถดถอยเชิงเส้นพบว่าแบบจำลอง The Best Subset Selection มีความแม่นยำสูงสุดและเป็นแบบจำลองที่เหมาะสมที่สุดโดยมีค่า MAPE (Mean Absolute Percentage Error) คือ 5.01 และ 4.30 สำหรับวิธีการบรรจุแบบตั้งและแบบไขว้ตามลำดับ ถึงอย่างไรก็ตาม แบบจำลอง The Best Subset Selection เหมาะสมกับการบรรจุยางขนาดเดียวที่มีข้อมูลการบรรจุยางที่เพียงพอ ผลการเปรียบเทียบแสดงถึงการแบบจำลองทางเรขาคณิตมีความเหมาะสมกับการบรรจุยางหลายขนาดหรือยางขนาดใหม่มากกว่า