DSpace Repository

การปรับปรุงนโยบายการเติมเต็มวัตถุดิบคงคลังสำหรับโรงงานประกอบโทรศัพท์มือถือ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปวีณา เชาวลิตวงศ์
dc.contributor.author โสภิดา อึ่งทอง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-07-23T05:13:38Z
dc.date.available 2022-07-23T05:13:38Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80067
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract งานวิจัยนี้นำเสนอวิธีการประมาณค่าความต้องการใช้วัตถุดิบและนโยบายการสั่งซื้อวัตถุดิบที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยวิธีการที่นำเสนอต้องสามารถประมาณค่าความต้องการใช้วัตถุดิบให้แม่นยำมากขึ้นและลดปริมาณวัตถุดิบคงคลังคงเหลือสิ้นงวดลง ในขณะที่ยังคงสามารถรักษาระดับการให้บริการไว้ที่ระดับ 95% งานวิจัยนี้เริ่มจากการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความต้องการวัตถุดิบจากข้อมูลรุ่นผลิตภัณฑ์ในอดีตและใช้การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นเพื่อพิจารณาเลือกสมการสำหรับการพยากรณ์ความต้องการใช้วัตถุดิบ ขั้นตอนถัดมาเป็นการนำเสนอวิธีการสั่งซื้อวัตถุดิบ เพื่อให้สอดคล้องกับค่าพยากรณ์และวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์สั้น โดยประยุกต์แนวคิดปริมาณการสั่งซื้ออย่างประหยัดร่วมกับเงื่อนไขปริมาณการสั่งซื้อขั้นต่ำ และในขั้นตอนสุดท้ายจะทำการทดสอบประสิทธิภาพของนโยบายการสั่งซื้อวัตถุดิบที่นำเสนอ ซึ่งจะนำวิธีการสั่งเติมวัตถุดิบที่ทดลองกับความต้องการที่ได้จากการประมาณค่ามาทดสอบกับปริมาณความต้องการที่เกิดขึ้นจริง โดยนโยบายที่เหมาะสมจะต้องให้ผลของปริมาณวัตถุดิบคงคลังสิ้นงวดลดลง จากนั้นนำวิธีการประมาณค่าความต้องการใช้วัตถุดิบและวิธีการสั่งซื้อที่นำเสนอไปทดสอบใช้กับผลิตภัณฑ์ใหม่ จากผลการทดสอบเมื่อนำสมการตัวแทนที่ได้ไปใช้ในการประมาณค่าความต้องการใช้วัตถุดิบ พบว่าค่าพยากรณ์มีความแม่นยำมากขึ้น โดยพิจารณาจากค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนเฉลี่ย (MAPE) ลดลงร้อยละ 80.38 โดยเฉลี่ย และเมื่อนำค่าจากการประมาณการใช้วัตถุดิบไปใช้ร่วมกับนโยบายการสั่งซื้อ พบว่าสามารถลดระดับสินค้าคงคลังคงเหลือสิ้นงวดลดลงร้อยละ 80.81 โดยเฉลี่ย ในขณะที่ยังคงสามารถรักษาระดับการให้บริการไว้ที่ระดับ 95% ตามเป้าหมาย
dc.description.abstractalternative This paper proposes a demand estimation method and a replenishment policy for the new product that improves accuracy forecasting and reduces the ending inventory while maintaining the service level at 95%. This study was conducted as follows: Firstly, all relevant data related to the demand behavior of the old products. Second, the simple linear regression analysis was used for demand forecasting. Third, establish replenishment policy that is consistent with the forecasted demand and short product life cycle by applying the basic Economic Order Quantity Policy (EOQ) with the Minimum Order Quantity (MOQ) condition. Finally, test the performance of this policy by comparing the method proposed by this research with the forecast demand and then test the same method with the actual demand in the past. The appropriate policy must reduce the amount of ending inventory of material. Then implement the method and policy with a new product. The results show that applied the new method to increase accuracy demand forecasting by considering from can reduce the ratio Mean Absolute Percentage Error (MAPE), which accounted for 77.69%, the forecast demand implemented with the ordering policy can reduce the amount of material ending inventory accounted for 87.15% while maintaining service level 95%.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.984
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Engineering
dc.title การปรับปรุงนโยบายการเติมเต็มวัตถุดิบคงคลังสำหรับโรงงานประกอบโทรศัพท์มือถือ
dc.title.alternative Improvement of replenishment policy of raw materials for mobile phone assembly plant
dc.type Thesis
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิศวกรรมอุตสาหการ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2021.984


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record