DSpace Repository

การติดตามวัดผลของโครงสร้างป้องกันชายฝั่งตามแนวชายฝั่งตะวันออกของปากแม่น้ำเจ้าพระยา

Show simple item record

dc.contributor.advisor บุศวรรณ บิดร
dc.contributor.author วริทธิ์ เจริญฤกษ์ถวิล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-07-23T05:13:45Z
dc.date.available 2022-07-23T05:13:45Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80071
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มุ่งศึกษา 1) การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งตะวันออกของปากแม่น้ำเจ้าพระยา ยาว 42 กม. ในช่วง 7 ทศวรรษที่ผ่านมา 2) การตอบสนองของแนวชายฝั่งหาดเลน ต่อการมีอยู่ของโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง และ 3) การวัดผลเขื่อนกันคลื่นในการป้องกันพื้นที่ศึกษา  การเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง ถูกประเมินจากภาพถ่ายทางอากาศและภาพดาวเทียม ที่บันทึกในช่วงปี 2549–2564  มีการสร้างข้อมูลแบบจำลองภูมิประเทศ จากการสำรวจด้วยแสงเลเซอร์แบบติดตั้งกับโดรน (UAV-LiDAR) โดยข้อมูลทั้งสองกลุ่มถูกนำมาใช้ในการประเมินประสิทธิผลป้องกันชายฝั่ง และใช้ในการสร้างเกณฑ์การออกแบบเขื่อนกันคลื่น สำหรับพื้นที่ศึกษา ผลการศึกษาพบว่าในช่วงปี 2497–2539 มากกว่า 50% ของแนวชายฝั่งที่ศึกษาเกิดการถอยร่นอย่างต่อเนื่องและรุนแรง เสียพื้นที่ไปราว 700 เฮกตาร์  ในปี 2537 กำแพงกันตลิ่งถูกสร้างตามแนวชายฝั่งเป็นระยะทาง 10 กม. ใกล้ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ 23% ของแนวชายฝั่ง ที่ศึกษามีเสถียรภาพจนถึงปัจจุบัน แต่อีก 70% ที่เหลือ เกิดการถดถอยอย่างรุนแรง ด้วยอัตราเฉลี่ย -15 ม./ปี  ในปี 2548 เขื่อนกันคลื่นจมน้ำด้วยไส้กรอกทราย ถูกติดตั้งตามแนวชายฝั่งที่ถูกกัดเซาะ เป็นระยะทาง 25 กม ส่งผลให้ 35% ของชายฝั่งมีเสถียรภาพ  อีก 56% ที่เหลือยังคงเกิดการถดถอย แต่อัตราการกัดเซาะเฉลี่ยลดลงเหลือเพียง -8 ม./ปี เนื่องจากไส้กรอกทรายมีอายุการใช้งานเพียง 4–5 ปี เขื่อนกันคลื่นด้วยหินทิ้งจึงถูกนำมาแทนที่ ในปี 2558  ทำให้แนวชายฝั่งที่เกิดการถดถอยลดลงเหลือเพียง 28% ด้วยอัตราเฉลี่ย -2 ม./ปี และมีอัตราการทับถมตะกอนด้านหลังเขื่อนเฉลี่ย 4–12 ซม./ปี ตั้งแต่ปี 2558 เขื่อนกันคลื่นใกล้ฝั่ง ถูกสร้างตามปากคลองสายหลักที่ยังคงเกิดการถอยร่นชายฝั่ง เขื่อนทุกตัวประสบความสำเร็จในการรักษาเสถียรภาพแนวชายฝั่ง และการฟื้นฟูพื้นที่ชายฝั่ง โดยมีอัตราการงอกชายฝั่งเฉลี่ย 11 ม./ปี และมีอัตราการทับถมตะกอนด้านหลังโครงสร้าง 16–32 ซม./ปี  นอกจากโครงสร้างวิศวกรรมแล้ว ไม้ไผ่ชะลอคลื่น ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ใช้วัสดุธรรมชาติ ถูกนำมาติดตั้งด้านหลังเขื่อนกันคลื่นจมน้ำ ตามแนวชายฝั่งแนวชายฝั่งพื้นที่ศึกษาตั้งแต่ปี 2545 แม้ว่าส่วนใหญ่ จะพบการขยายอาณาเขตของป่าชายเลนด้านหลังแนวไม้ไผ่ แต่ผลการสำรวจแสงเลเซอร์ LiDAR ระบุว่า อัตราการทับถมของตะกอนด้านหลังแนวไม้ไผ่มีค่าน้อยกว่า 1 ซม./ปี หลังจากก่อสร้าง 5 ปีขึ้นไป ผลการวิเคราะห์รูปแบบการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งและอัตราการทับถมตะกอน เนื่องจากการติดตั้งโครงสร้างวิศวกรรมป้องกันชายฝั่งทั้ง 4 ชนิด แสดงให้เห็นว่า เขื่อนกันคลื่นใกล้ฝั่งให้ประสิทธิผลดีที่สุด ทั้งในการป้องกันชายฝั่งและทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นพื้นที่ป่าชายเลน ส่วนเขื่อนกันคลื่นจมน้ำ (แบบไส้กรอกทรายและแบบหินทิ้ง) มีประสิทธิผลดีในการลดความรุนแรงการกัดเซาะชายฝั่ง  ในขณะที่แนวไม้ไผ่ชะลอคลื่น ประสบผลสำเร็จในการดักตะกอนได้เพียง 1–3 ปีหลังจากการก่อสร้าง หลังจากนั้นไม้ไผ่จะเสื่อมสภาพ ผลการศึกษาได้เสนอเกณฑ์การออกแบบเขื่อนกันคลื่น ตามสภาพข้อมูลจากชายฝั่งที่ศึกษา
dc.description.abstractalternative This research aims at a study of 1) changes of the 42 km eastern coastline of the Chao Phraya River mouth (ECPM) during the past 7 decades, 2) the responses of muddy coastline upon the existence of coastal protection structures, and 3) performance monitoring of breakwaters in protection of the study area. Shoreline changes were evaluated from aerial photographs and satellite imageries during 1956-2021. Digital terrain models were made for the study area with data surveyed by a laser equipped drone (UAV-LIDAR). Both resulting data were used to assess the effectiveness of coastal protections and to formulate a design criteria of breakwater for the study area. The study result found that, during 1956–1996, more than 50% of the shoreline had experienced continuous and severe retreat causing land losses of 700 ha. In 1994, seawalls had been constructed along a 10-km coastline near the CPY River mouth stabilizing 23% of the study shoreline ever since. However, the remaining 70% shoreline continuously receded with an alarming rate of -15 m/y. In 2005, sand-sausage submerged breakwaters were installed along 25 km of the eroded coast resulting in 35% of the stable coastline. The rest 56% coastline still receded with a lower average recession rate of -8 m/y. Since sand sausage had a short life span of 4–5 y, sand sausages had been replaced by rubble-mound submerged breakwaters (RMBW) in 2015 reducing eroded shoreline to 28% with an average rate of -2 m/y. In addition, the sedimentation rate behind the structures varied 4–12 cm/y. Since 2013, nearshore breakwaters had been constructed along the eroded shores near the outlets of major coastal channels. All nearshore breakwaters successfully protected and reclaimed coastlines with an average aggradation rate of 11 m/y and the sedimentation deposition rates behind the structures ranging 16–32 cm/y. Besides the engineering structures, bamboo fences, natural-based structures, had been installed behind RMBW along the study coastline since 2002. Although mangrove colonization were found behind the bamboo fences in several areas, the LiDAR survey data indicated that average sedimentation rates behind the bamboo fences were less than 1 cm/y after five years of installation. Results from the analysis of shoreline change patterns and sedimentation rates, induced by the 4 types of coastal protection structures, indicated that nearshore breakwater had the highest effectiveness on coastal protection and regeneration of mangrove forest. Submerged breakwaters (sand sausage and rubble mound) had a good effectiveness on reducing severity of shoreline erosion. While bamboo fences successfully trapped sediment only a few years after construction before they deteriorated. A design criteria was proposed for breakwater according to data collected in the study coastline.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.909
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Engineering
dc.subject.classification Engineering
dc.subject.classification Engineering
dc.subject.classification Environmental Science
dc.subject.classification Environmental Science
dc.subject.classification Environmental Science
dc.subject.classification Environmental Science
dc.title การติดตามวัดผลของโครงสร้างป้องกันชายฝั่งตามแนวชายฝั่งตะวันออกของปากแม่น้ำเจ้าพระยา
dc.title.alternative Performance monitoring of coastal protection structures along the eastern coastline of the Chao Phraya river mouth
dc.type Thesis
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิศวกรรมแหล่งน้ำ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2021.909


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record