DSpace Repository

การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบร่วมและแบบจำลองคาโน เพื่อหาความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย สำหรับหลักสูตรมหาบัณฑิตสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ

Show simple item record

dc.contributor.advisor นระเกณฑ์ พุ่มชูศรี
dc.contributor.author มุกรินทร์ ทองโอเอี่ยม
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-07-23T05:14:50Z
dc.date.available 2022-07-23T05:14:50Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80106
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract ความพึงพอใจของผู้เรียนเป็นปัจจัยสำคัญเชิงกลยุทธิ์ของหลายสถาบันการศึกษา ในการรับมือตลาดการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นอย่างเร็ว งานวิจัยนี้นำเสนอแนวทางการหาความต้องการของผู้เรียนเพื่อพัฒนาหลักสูตรมหาบัณฑิตใหม่ โดยพิจารณาจากความต้องการของผู้เรียนเป้าหมายต่อหลักสูตรมหาบัณฑิตวิศวกรรมอุตสาหการ โดยนำเทคนิค Choice-Based Conjoint Analysis และ Kano Model มาวิเคราะห์ความสำคัญของคุณลักษณะหลักสูตรมหาบัณฑิต เช่น หลักสูตรสาขาเฉพาะทาง ช่วงเวลาเรียน รูปแบบงานวิจัย ภาษาที่ใช้สอน รูปแบบการสอน และค่าเรียน นอกจากนี้งานวิจัยได้ใช้เทคนิค เทคนิค Latent Class Analysis เพื่อแบ่งกลุ่มผู้เรียนที่มีความพึงพอใจที่แตกต่างกันในหลักสูตรมหาบัณฑิต โดยสามารถแบ่งกลุ่มผู้เรียนที่มีความชอบแตกต่างกันได้ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มหลักสูตรเฉพาะทางระบบโซ่อุปทานค่าเรียนต่ำกว่า 100,000 บาท และกลุ่มหลักสูตรเฉพาะทางวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจสอนด้วยภาษาอังกฤษ โดยความแตกต่างของความพึงพอใจคุณลักษณะหลักสูตรมหาบัณฑิตทั้งสองกลุ่มมีความเด่นชัดในคุณลักษณะหลักสูตรเฉพาะทางและค่าเรียน เป็นต้น ส่วนคุณลักษณะอื่นๆ เช่น สหวิทยาการ หลักสูตรร่วมมือสถาบัน เกณฑ์ผู้สมัครมีประสบการณ์ทำงาน และโครงการผู้เรียน ที่ได้รับการวิเคราะห์โดย Kano Model พบว่าไม่ได้มีความสำคัญกับผู้เรียนแต่อย่างใด งานวิจัยจึงเป็นงานที่ริเริ่มนำเทคนิคดังกล่าวเพื่อมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรมหาบัณฑิตใหม่สำหรับงานวิจัยด้านการศึกษา
dc.description.abstractalternative Student satisfaction has become a key factor in strategic work of many institutions towards the increasing competition regarding student recruitment. This research presents a systematic approach to identify student needs for a Master’s Degree Program in Industrial Engineering based on target student needs in the view of new product development. The approach consists of two methods: Choice-based conjoint analysis and Kano Model. Conjoint analysis is used to explore important scores of each attribute of the program, i.e., specialist concentration, class period, research type, teaching language, teaching format, and tuition fee. Also, the popularity of levels in each attribute are identified. Latent class model is used to identify different clusters of target students. The result indicates two different segmentations of different preferences. The heterogeneity of preference is characterized by different attribute selection such as levels of specialist concentration preference and tuition fee. Other attributes such as interdisciplinary, cooperate program, work experience requirement and group (with presence/absence option) are analyzed by Kano model to identify their categories and it is found that they are not very important to target students. This research contributes in the literature as a pioneer in applying these two methods to gain student perception insights about new Master’s curriculum development for education industry.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1002
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Engineering
dc.subject.classification Engineering
dc.title การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบร่วมและแบบจำลองคาโน เพื่อหาความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย สำหรับหลักสูตรมหาบัณฑิตสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
dc.title.alternative Applying conjoint analysis and Kano model to identify target customer needs for master degree in industrial engineering
dc.type Thesis
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิศวกรรมอุตสาหการ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2021.1002


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record