DSpace Repository

การศึกษาการจำลองเปรียบเทียบโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้แผงประเภทรับแสงสองด้านด้วยระบบติดตามแสงอาทิตย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุทัศน์ รัตนเกื้อกังวาน
dc.contributor.author พิมพ์พร โกพล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned 2022-07-23T05:34:09Z
dc.date.available 2022-07-23T05:34:09Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80242
dc.description สารนิพนธ์ (วท.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract แผงเซลล์แสงอาทิตย์ประเภทรับแสงสองด้าน คือแผงที่สามารถรับแสงที่ตกกระทบต่อพื้นผิวหน้าแผงโดยตรง และยังสามารถรับแสงที่สะท้อนมาจากพื้นใต้แผง ทำให้แผงประเภทนี้สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าแผงทั่วไปที่รับแสงได้เพียงด้านเดียว ทั้งนี้ค่าการสะท้อนพื้นหญ้าปกติของโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จะอยู่ที่ 0.2 ซึ่งค่าการสะท้อนจากพื้นดินมีผลโดยตรงต่อแผงเซลล์แสงอาทิตย์ประเภทรับแสงสองด้าน ซึ่งถ้าหากสามารถเพิ่มค่าการสะท้อนใต้แผงให้มากขึ้น ย่อมส่งผลให้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ประเภทรับแสงสองด้าน มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น การศึกษานี้ทำการเปรียบเทียบผลการสะท้อนจากวัสดุปูพื้นที่มีค่าการสะท้อนแตกต่างกัน โดยจำลองผลผลิตไฟจากโปรแกรม PVsyst และเปรียบเทียบต้นทุนในการลงทุนด้วยวิธีประเมินต้นทุนโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ประเภทรับแสงสองด้าน ที่ทำงานด้วยระบบติดตามแสงอาทิตย์แบบตั้งเวลา 3 กรณี ได้แก่ พื้นหญ้า พื้นทราย และหินกรวด โดยเปรียบเทียบกับโครงการที่ใช้แผงแบบทั่วไปที่รับแสงเพียงด้านเดียว การศึกษาพบว่าโครงการที่ใช้แผงแบบรับแสงสองด้าน และทำการปูพื้นด้วยหินกรวดมีค่าการสะท้อน 0.4 ส่งผลให้แผงสามารถผลิตไฟได้มากที่สุด ทำให้โครงการมีอัตราผลตอบแทนภายในสูงสุด 16.91% แม้จะมีมูลค่าการลงทุนอยู่ที่ 135.93 ล้านบาท ซึ่งสูงที่สุดก็ตาม และเมื่อเปรียบเทียบหาอัตราผลตอบแทนภายในส่วนเพิ่ม (Incremental internal rate of return) กับโครงการที่ใช้แผงทั่วไป ทำให้โครงการมีผลตอบแทนที่มากขึ้นถึง 43.31%
dc.description.abstractalternative Bifacial photovoltaic panel (bifacial PV panel) is solar cell which can receive both direct incident light on the front surface and the light reflected from the ground on the back surface which allows it to have higher efficiency than standard monofacial panel. Albedo is a ratio of the light being reflected from the ground to the back surface and thus the albedo ratio directly affects performance of the bifacial PV panel. The higher albedo ratio is, the more output the panel can produce. The standard albedo for grass-type ground widely used for solar power plant projects is around 0.2. This study compares various types of surface material with different albedo. The surface materials to be compared consists of grass, sand, and gravel. The energy outputs from the different materials are simulated from PVsyst program. The investment cost of the solar power plant with bifacial PV panel along with single-axis tracking system and conventional monofacial system are then compared. Results from the study showed that the bifacial panel using gravel with the albedo value of 0.4 has the highest yield. Despite having the highest investment cost among alternatives (135.93 m.THB), using gravel as a ground material has the highest internal rate of return (16.91%). Comparative study with the monofacial system using the incremental rate of return indicated that the bifacial PV panel with gravel has 43.31% higher rate.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.143
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title การศึกษาการจำลองเปรียบเทียบโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้แผงประเภทรับแสงสองด้านด้วยระบบติดตามแสงอาทิตย์
dc.title.alternative The comparative simulation study of solar power using bifacial pv panel with tracking system
dc.type Independent Study
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline เทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2021.143


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Grad - Independent Studies [269]
    สารนิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record