DSpace Repository

บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอเมืองระยองในการพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิมลมาศ ศรีจำเริญ
dc.contributor.author ดุรงฤทธิ์ ดุลคนิต
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-07-23T05:36:48Z
dc.date.available 2022-07-23T05:36:48Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80271
dc.description สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract การศึกษาเรื่องบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ในการพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ (Aged-Friendly city) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองระยองต่อการพัฒนาเมืองให้กลายเป็นเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัย  (Age-Friendly City) รวมถึงปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัยในเขตอำเภอเมืองระยอง โดยเลือกศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง เทศบาลนครระยอง เทศบาลตำบลเนินพระ และเทศบาลตำบลทับมา ในการพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยคำถามแบบกึ่งโครงสร้างและการลงพื้นที่เชิงสังเกต การรวบรวมข้อมูลมีการจัดหมวดหมู่  เป็น 8 หมวด ตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก จากนั้นนำมาประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลให้เข้ากับบริบทอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย ผลการวิจัย พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ศึกษาได้มีการดำเนินนโยบายตามแนวทางขององค์การอนามัยโลกครบถ้วนทั้ง 8 ด้าน โดยในแต่ละด้านจะมีความพร้อมต่อการพัฒนาให้พื้นที่เป็นเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุที่แตกต่างกัน แต่ด้านที่ผู้สูงอายุต้องการให้พัฒนามากที่สุด คือด้านการคมนาคมเนื่องจากเป็นเครื่องมือในการเข้าถึงบริการสาธารณะอื่นๆ ซึ่งถึงแม้จะมีการดำเนินนโยบายตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก แต่ปัจจุบันยังขาดความพร้อม ไม่สะดวกในการใช้งาน และด้านสาธารณสุข ซึ่งผู้สูงอายุจำเป็นต้องพบแพทย์เป็นประจำ แต่มาตรฐานการให้บริการยังไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากขาดแคลนบุคลากรและยังกระจายทรัพยากรไปยังสถานบริการขนาดเล็กได้ไม่เพียงพอ ทำให้ต้องไปแออัดยังสถานพยาบาลขนาดใหญ่เท่านั้น สำหรับแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสม คือการร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานเพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการ รวมถึงกำหนดแผนพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุในพื้นที่ศึกษาเพื่อให้ทุกหน่วยงานมีส่วนร่วม เนื่องจากการพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุเกี่ยวข้องกับหน้าที่ของหลายกระทรวง แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรจะมีบทบาทนำเนื่องจากอยู่ใกล้ชิดกับประชาชนและมีอำนาจตามพระราชบัญญัติที่หลากหลาย ครอบคลุมแนวทางทั้ง 8 ขององค์การอนามัยโลก
dc.description.abstractalternative The study of the Roles of Local Government Organizations in Mueang Rayong District  in the development of age-friendly city aimed to study 4 Local Administrative Organizations’ (LAOs) policy in developing as an age-friendly city to support the elderly society Thailand is transforming into including problem and obstacle to developing an age-friendly city in Mueang Rayong District . The 4 LAOs are Rayong Administrative Organization, Rayong Municipality, Noenpra Sub-district Municipality and Thabma Sub-district Municipality This research is a qualitative research. The researcher gathered data from in-depth interviews observation of age-friendly city facility in the 4 areas. The findings showed that the LAOs in the study area followed the age-friendly guidelines of the World Health Organization in all 8 aspects but the aspect the elderly needed more improvement was communication as it is an access other public services. Other improvement is needed in public health services as it still lacks sufficiency in personnel and limited resources in smaller areas.   This research recommends more participation and cooperation between agencies and the elderly population to increase service quality and availability of services, with the LAOs being the leader in implementation as they are the closest government agency to the community.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.402
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอเมืองระยองในการพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ
dc.title.alternative The roles of local government organizations in Mueang Rayong district in the development of age-friendly city
dc.type Independent Study
dc.degree.name รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline รัฐประศาสนศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2021.402


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Pol - Independent Studies [518]
    สารนิพนธ์ คณะรัฐศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record