dc.contributor.advisor | ปกรณ์ ศิริประกอบ | |
dc.contributor.author | มนฤดี ทองกำพร้า | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2022-07-23T05:37:02Z | |
dc.date.available | 2022-07-23T05:37:02Z | |
dc.date.issued | 2564 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80292 | |
dc.description | สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 | |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างความเป็นทีมของพนักงานของสถาบันพระปกเกล้า 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการทำงานเป็นทีมของพนักงานสถาบันพระปกเกล้า 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางเชิงนโยบายในการพัฒนาระบบการทำงานเป็นทีมของพนักงานสถาบันพระปกเกล้า ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสาร แนวคิดทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ คือ แนวคิดเกี่ยวกับทีมงานและการทำงานเป็นทีม องค์ประกอบการทำงานเป็นทีม ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการทำงานเป็นทีม อุปสรรคของการทำงานเป็นทีม แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเป็นทีม ได้แก่ Tuckman’s Stage of Group Development Model แรงจูงใจในการทำงานเป็นทีมโดยใช้ทฤษฎีสองปัจจัย (Two-Factor Theory) ของ Frederick Herzberg และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สมมติฐานการวิจัยครั้งนี้มี 2 ข้อ คือ ปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับตำแหน่ง ระยะเวลาการปฏิบัติงาน และสถานะที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการสร้างความเป็นทีมที่แตกต่างกัน และปัจจัยการทำงานเป็นทีมของพนักงานสถาบันพระปกเกล้าด้านใด ส่งผลต่อการสร้างความเป็นทีม การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานสถาบันพระปกเกล้าจำนวน 157 คน ผู้ตอบกลับจำนวน 98 คน คิดเป็นร้อยละ 62.42 มีการประมวลผลวิเคราะห์โดยใช้สถิติค่าแจกแจงความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) การทดสอบสมมติฐานโดยใช้เทคนิค T-test, F-test และการวิเคราะห์การถดถอย (Regression) ควบคู่กับการใช้วิธีศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (สัมภาษณ์เชิงลึก) ผู้บริหารระดับกลางและพนักงานสถาบันพระปกเกล้า รวมจำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับตำแหน่ง ระยะเวลาการปฏิบัติงาน การสร้างความเป็นทีมไม่แตกต่างกัน ในขณะที่สถานะของพนักงานที่มีการโอนย้ายมาจากสำนักงานสภาพัฒนาการเมือง การสร้างความเป็นทีมกลับแตกต่างกัน 2) ปัจจัยการทำงานเป็นทีม ด้านความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีผลต่อการสร้างความเป็นทีม ในขณะที่ปัจจัยด้านความสำเร็จของทีม ด้านการได้รับการยอมรับ ด้านลักษณะงานที่ทำ ด้านความรับผิดชอบ ด้านนโยบายและการบริหารขององค์การ ด้านการบังคับบัญชาและการควบคุมดูแล และด้านความสัมพันธ์กับหัวหน้างาน ไม่มีผลต่อการสร้างความเป็นทีม ซึ่งสอดคล้องกับผลการสัมภาษณ์ว่าอุปสรรคในการทำงานเป็นทีม คือ ความก้าวหน้าในหน้าที่การงานที่เกิดจากผลการประเมินผลที่ไม่เป็นธรรม การเอาเปรียบเพื่อนร่วมงาน ไม่ยอมรับความคิดเห็นต่าง ไม่มีการสื่อสารกันภายในทีมส่งผลให้บรรยากาศในทีมอึดอัด สำหรับข้อเสนอแนะ ผู้บริหารควรสร้างความเชื่อมั่น ส่งเสริมและสนับสนุนความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน สนับสนุนกิจกรรมกระชับความสัมพันธ์ของพนักงาน นโยบายการบริหารขององค์การต้องชัดเจน และองค์กรควรมีการเฉลิมฉลองความสำเร็จและการสรุปบทเรียน | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was 1) to study factors affecting teamwork of King Prajadhipok’s Institute’s employees, 2) to study problems and obstacles on teamwork of King Prajadhipok’s Institute’s employees, and 3) to recommend proposed policy for teamwork development of King Prajadhipok’s Institute’s employees. The researcher has studied related documents, theories, and researches on concepts, components, success factors, and obstacles to teamwork, based on Tuckman’s Stage of Group Development Model, Herzberg’s Two-Factor Theory, and other relevant researches. There were two hypotheses, which were individual factors: gender, age, educational level, positioning level, duration of work, and status, affecting teamwork differently, and which studied factors of King Prajadhipok’s Institute’ employees affecting teamwork. This research employed a mixed-method by using a questionnaire as a tool for collecting data. The sample group was 157 employees of the King Prajadhipok’s Institute with 98 respondents or 62.42%. These are analyzed using frequency, percentage, T-test, F-test, multiple regression, and qualitative method (in-depth interview) of 10 key informants of the King Prajadhipok’s Institute’s middle-level executives and employees. The result showed that 1) gender, age, educational level. positioning level, and duration of work, made no difference to teamwork, but there were differences in the employees who have been transferred from the Office of the Political Development; and 2) teamwork factors: career advancement, colleague relationship, and work environment affected teamwork, while team achievement, acceptance, job description, responsibility, policy and administration of the organization, command and supervision, and supervisor relationship do not affect teamwork. These results accorded with the interview have shown that the obstacles to teamwork were unfair evaluation, being taken advantage, offered different opinions, no communication among the team, as well as creating uncomfortable atmospheres. For recommendation, the executives should build trust, promote and support career advancement, support friendship activities, create administrative policy, celebrate achievements, and offered lesson-learned practices. | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.419 | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.title | ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างความเป็นทีมของพนักงานในองค์กรกรณีศึกษา การโอนย้ายบุคลากรสำนักงานสภาพัฒนาการเมืองเข้ารวมกับสถาบันพระปกเกล้า | |
dc.title.alternative | Factors affecting employees teamwork in an organization:A case study of the transfer of personnel from the Office of the Political Development Council to merge with King Prajadhipok's Institute | |
dc.type | Independent Study | |
dc.degree.name | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | รัฐประศาสนศาสตร์ | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.IS.2021.419 |