Abstract:
ในปัจจุบันการเสียชีวิตจากภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด (sepsis มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตัวชี้วัดหนึ่ง
ที่สามารถทำนายการเกิดสภาวะ sepsis ได้คือระดับแลเตท (lactate) ในกระแสเลือด การตรวจวัตระดับแลคแตทใน
กระแสเลือดนั้นสามารถตรวจได้โดยเครื่องวิเคราะห์ปริมาณก๊ซในเลือดอัตโนมัติ ซึ่งมีขั้นตอนที่ซับซ้อน และราคาสูง ทำให้
สามารถเข้าถึงได้อย่างจำกัด จึงได้มีการพัฒนาเครื่องตรวจวัดระดับแลตทแบบพกพาขึ้นเพื่อให้การตรวจวัดระดับแลคเตท
ในกระแสเลือดมีความสะดวก และรวดเร็วขึ้น แต่การศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของเครื่องดังกล่าวมีอยู่อย่างจำกัด จึงนำมาสู่การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบคำร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ (%RSD) และความแม่นยำ (accuracy) ของชุดตรวจ
แลคเตทด้วยชุดอุปกรณ์ตรวจวัดแลคเตทในเลือดแบบพกพากับเครื่องวิเคราะห์ปริมาณก๊ซในเลือดอัตโนมัติ โดยการศึกษานี้
เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ที่เก็บข้อมูลไปข้างหน้า และใช้ข้อมูลจากผู้ป่วยวิกฤตโรงพาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทยระหว่างเดือน พฤศจิกายน 2563 ถึง กุมภาพันธ์ 2564 ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 53 ราย มีอายุเฉลี่ย 60.2 ปี
ผลการศึกษาจากการการตรวจวัตระดับแลคเตทในกระแสเลือดด้วยชุดอุปกรณ์ตรวจวัดแบบพกพาเปรียบเทียบกับ
เครื่องวิเคราะห์ปริมาณก๊าซในเลือดอัตโนมัติพบว่าชุดอุปกรณ์ตรวจวัดแบบพกพามีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ 0.976 (p<0.001) ชุดอุปกรณ์ตรวจวัดแบบพกพา มีค่ร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพันธ์ (9 Relative standard deviation) ไม่เกินร้อยละ 15 เปอร์เซ็นต์ มีค่ความถูกต้อง (% accuracy) ในช่วง 62.5 ถึง 133.3 เปอร์เซ็นต์ และมีค่า effectiveness index เท่ากับ 0.940 โดยสรุปการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการพัฒนาเครื่องตรวจวัดระดับแลคเตทแบบพกพาให้สามารถตรวจวัดระดับแลคเตทในกระแสเลือดได้อย่างแม่นยำ เพื่อช่วยทำนายการเกิดภาวะ sepsis และ septic shock ได้ในอนาคต อย่างไรก็ตามอาจต้องการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวประสิทธิภาพของเครื่องตรวจวัดระดับแลคเตทแบบพกพาโดยมีการศึกษากับจำนวนประชากรที่มากขึ้นต่อไป