dc.contributor.advisor |
สิริชัย ชูสิริ |
|
dc.contributor.author |
สิริฉัตร แวววงศ์ทอง |
|
dc.contributor.author |
หฤษฏ์ เก่งพิทักษ์ |
|
dc.contributor.author |
อนันตญา ฟักสังข์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-08-11T06:28:02Z |
|
dc.date.available |
2022-08-11T06:28:02Z |
|
dc.date.issued |
2564 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80395 |
|
dc.description |
โครงการปริญญานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2564 |
en_US |
dc.description.abstract |
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของยา
กลุ่มสแตตินในผู้ป่วยโรศสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันที่มีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว ดำเนินการเก็บข้อมูลจาก
เวชระเบียนในผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันที่มีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพริ้วที่รับการรักษาครั้งแรกใน
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ในช่วงเดือนมกราคม 2557 ถึงเดือนธันวาคม 2561 จากผู้ป่วยทั้งหมด
จำนวน 78 คน โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่มย่อย ได้แก่ กลุ่มที่ไม่ได้รับยาสแตติน (non-statin) 13 คน (ร้อย
ละ 16.7) กลุ่มที่ได้รับยาสแตตินชนิด low-to-moderate 15 คน (ร้อยละ 19.2) และกลุ่มที่ได้รับยาสแตติน
ชนิด high -intensity 49 คน (ร้อยละ 62.8) ผลการศึกษาพบผู้ป่วยที่มีการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง
ชนิดสมองขาดเลือดจำนวน 10 คน (ร้อยละ 12.8) โดยพบในกลุ่มที่ได้รับยาสแตตินชนิด high-intensity มาก
ที่สุด จำนวน 8 คน (ร้อยละ 10.3) และพบในกลุ่มที่ได้รับยาสแตตินชนิด low-to-moderate และกลุ่มผู้ป่วยที่
ไม่ได้รับยาสแตตินอย่างละ 1 คน (ร้อยละ 1.3 โดยพบระยะเวลาในการกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง
ชนิดสมองขาดเลือดเฉลี่ย 478.7 วัน และจากการวิเคราะห์ทางสถิติโดยใช้ Kaplan-Meier cuive พบค่าเฉลี่ย
ของระยะเวลาการรอดจากกรกลับเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือดในกลุ่มที่ได้รับยาสแต
ตินชนิด high-intensity และกลุ่มที่ไม่ได้รับยาสแตตินชนิด high-intensity เท่ากับ 1,304.94 วัน และ
1,383.62 วัน ตามลำดับ และเมื่อทดสอบความแตกต่างทางสถิติด้วย Chi-square พบว่า ไม่แตกต่างอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.242) นอกจากนี้พบผลการเกิดเลือดออกในสมองในผู้ป่วยจำนวน 2 คน (ร้อยละ 2.6)
โดยพบในกลุ่มที่ไม่ได้รับยาสแตติน 1 คน (ร้อยละ 1.3) และกลุ่มที่ได้รับยาสแตตินชนิด high-intensity 1 คน
(ร้อยละ 1.3) ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ยาสแตตินชนิด high -intensity ไม่สามารถช่วยลดการกลับเป็นซ้ำของโรค
หลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือดในผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลันที่มีสิ่มเลือดมาจากหัวใจ แต่ผล
ของยาสแตตินต่อการเกิดเลือดออกในสมองยังไม่ชัดเจน |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
This retrospective observational study aimed to evaluate effectiveness and safety of
statins in acute ischemic stroke with atrial fibrillation patients. The study was conducted at
King Chulalongkorn Memorial Hospital. The data were coltected from medical records between
January 2014 and December 2018. There were 78 patients who were included into the study
and they were divided into three subgroups, including 13 patients (16.7%) in the non-statin
group, 15 patients (19.2%6) in the low-to-moderate intensity statin group and 49 patients
(62.8%) in the high-intensity statin group. The result showed that 10 patients had ischemic
stroke recurrence, and 8 patients were found in the group receiving the high-intensity statin.
For group receiving the low-to-moderate intensity statin and non-statin, there was only 1
patient with ischemic stroke recurrence in each group. The average time interval of ischemic
stroke recurrence is 478.7 days. From statistical analysis using by Kaplan-Meier curve, the mean
survival time of ischemic stroke recurrence in the high-intensity group, and non high-intensity
statin group patients are 1,304.94 days and 1,383.62 days, respectively. When tested for
statistical difference with Chi-square, it was found that there was no statistically significant
difference (p = 0.242). Intracranial hemorrhage was reported in 2 patients (2.6%), one in the
non-statin group and the other in the high-intensity statin group. In conclusion, high-intensity
statin was unable to reduce the recurrence of ischemic strokes in cardioembolic stroke
patients, but the adverse effect of statins on intracranial hemorrhage was still unclear. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
โรคหลอดเลือดสมอง |
en_US |
dc.subject |
ภาวะหัวใจเสียจังหวะ |
en_US |
dc.title |
ประสิทธิผลและความปลอดภัยของยากลุ่มสแตตินในผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือด ระยะเฉียบพลันที่มีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพริ้วในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ |
en_US |
dc.title.alternative |
Effectiveness and safety of statins in acute ischemic stroke with atrial fibrillation patients in King Chulalongkorn Memorial Hospital |
en_US |
dc.type |
Senior Project |
en_US |
dc.subject.keyword |
โรคสมองขาดเลือด |
en_US |
dc.subject.keyword |
ยากลุ่มสแตติน |
en_US |