Abstract:
โรคมะเร็งท่อน้ำดีเป็นหนึ่งในโรคที่พบอุบัติการณ์การเกิดได้มากในประเทศไทย ซึ่งเป็นโรคมะเร็งที่มีอัตราการ
ลุกลามและเสียชีวิตค่อนข้างสูง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงได้รับการวินิจฉัยในระยะลุกลามที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ ทำให้การใช้ยา
เคมีบำบัดจึงเป็นทางเลือกหลักในการรักษา โดยสูตรยาเคมีบำบัด gemcitabine-cisplatin เป็นสูตรมาตรฐานที่
แนะนำในหลายแนวทางปฏิบัติ อย่างไรก็ตามยังไม่มีการเก็บข้อมูลการใช้ยาเคมีบำบัดสูตรผสม gemcitabine-
cisplatin ในไทย งานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการให้ยาเคมีบำบัดสูตรผสม
gemcitabine-cisplatin สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีในระยะแพร่กระจายในประชากรไทย
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงพรรณนา โดยศึกษาเก็บข้อมูลย้อนหลังในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะแพร่กระจายใน
ผู้ป่วยที่เข้ารับกรรักษา ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึง 31 ธันวาคม
พ.ศ. 2563 ผลการวิจัยพบว่ามีผู้เข้าร่วมงานวิจัยทั้งหมด 32 ราย โดยมีอายุเฉลี่ยเป็น 60.03 + 8.71 ปี พบการลุกลาม
ของมะเร็งที่ตับมากที่สุด 18 ราย (ร้อยละ 56.3 รองลงมาคือต่อมน้ำเหลือง 8 ราย (ร้อยละ 25) โดยเฉลี่ยแล้วผู้ป่วย
ได้รับยาจำนวน 6 รอบ และได้รับขนาดยา gemcitabinc และ cisplatin โดยเฉลี่ยเป็น 1,397.28 และ หืรน38.29
มิลลิกรัม ตามลำดับ ประสิทธิผลในผู้ป่วยที่ได้รับยา gemcitabine-cisplatin มีมัธยฐานอัตราการรอดชีวิตโดยรวม
เป็น 33 เดือน และมัธยฐานอัตราการอยู่รอดโดยโรคสงบเป็น 13 เดือน โดยมีผู้ป่วยที่ก้อนมะเร็งตอบสนองบางส่วน
จำนวน 6 ราย (ร้อยละ 18.8), ผู้ป่วยที่โรคคงที่ 10 ราย (ร้อยละ 31.3 และผู้ป่วยที่โรคลุกลาม 16 ราย (ร้อยละ 50)
สำหรับอาการไม่พึงประสงค์พบว่าผู้ป่วยจำนวน 22 ราย (ร้อยละ 68.8 เกิดโรคไตเรื้อรัง และผู้ป่วยจำนวน 2 ราย
(ร้อยละ 6.3) เกิดไตวายเฉียบพลันแบบรุนแรงหลังจากได้รับยาเคมีบำบัด นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยเกิดภาวะโลหิตจาง
ชนิดไม่รุนแรง 30 ราย (ร้อยละ 93.8) ภาวะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำชนิดไม่รุนแรง 19 ราย (ร้อยละ 59.4), ภาวะ
เม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำชนิดรุนแรง 14 ราย (ร้อยละ 43.8) และ มีเกล็ดเลือดต่ำชนิดรุนแรง 2 ราย (ร้อยละ 6.3)
ยาเคมีบำบัดสูตรผสม gemcitabine-cisplatin มีอัตราการรอดชีวิตโดยรวมสูงกว่าการศึกษาที่ผ่านมา ซึ่ง
อาจเป็นผลมาจากการได้รับยารักษาโรคมะเร็งชนิดอื่นหลังจากครบรอบการรักษาหรือมีการลุกลามของโรค ประกอบ
กับมีผู้เข้าร่วมงานวิจัยน้อย จึงทำให้การแปลผลข้อมูลอาจสูงกว่าความเป็นจริงได้ แต่อย่างไรก็ตาม อัตราการอยู่รอด
โดยโรคสงบ ซึ่แสดงถึงประสิทธิภาพของยายังคงมีผลใกล้เคียงกับการศึกษาที่ผ่านมา โดยผลข้างเคียงที่พบมาก ได้แก่
ภาวะโลหิตจาง ภาวะเม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลต่ำ และการทำงานของไตผิดปรกติ โดยส่วนใหญ่พบในชนิดไม่รุนแรง จึง
ถือว่าเป็นสูตรยาเคมีบำบัดที่มีความเหมาะสมสำหรับการดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีระยะ
สุดท้ายและระยะแพร่กระจาย