Abstract:
งานวิจัยนีเป็นงานวิจัยประเภทเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล
แพร่ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคมของปี พ.ศ.2563 และ พ.ศ.2564 โดยในปี พ.ศ.2563 เป็นปีที่ยังไม่มีการ
นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยแจ้งเตือนเรื่องผลเพาะเชื้อและความไวต่อยาโดยเภสัชกรแก่แพทย์มาใช้ในโรงพยาบาล
แพร่ ขณะที่ในปี พ.ศ.2564 เป็นปีที่มีการนำโปรแกรมฯ มาใช้ในโรงพยาบาลแพร่เป็นปีแรก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อเปรียบเทียบอัตราการปรับลดยาต้านจุลชีพ อัตราการเกิดเชื้อดื้อยา และผลการรักษาของผู้ป่วยก่อนและหลังการ
ใช้โปรแกรมฯ จากการเก็บข้อมูลผู้ป่วย 59 คน แบ่งเป็นผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่มีโปรแกรมฯ 28 คน และกลุ่มที่มีโปรแกรมฯ
31 คน ผลการศึกษา พบว่า ข้อมูลลักษณะทั่วไปไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม
สำหรับอัตราการปรับลดยาต้านจุลชีพในกลุ่มที่มีโปรแกรมฯ คิดเป็นร้อยละ 76.7 สูงกว่ากลุ่มที่ไม่มีโปรแกรมฯ ซึ่งคิด
เป็นร้อยละ 64.3 แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P > 0.05) ส่วนอัตราการเกิดเชื้อดื้อยา 8 ชนิด
ที่สำคัญที่ใช้เป็นสัญญาณเตือนระดับประเทศ พบว่า ในกลุ่มที่มีโปรแกรม ฯ มีผู้ป่วยที่พบเชื้อดื้อยาในกระแสเลือด
8 คน คิดเป็นร้อยละ 25.8 ของผู้ป่วยที่พบเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด ซึ่งมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีโปรแกรมฯ ที่มีผู้ป่วยที่
พบเชื้อดื้อยาในกระแสเลือด 6 คน คิดเป็นร้อยละ 21.4 เมื่อพิจารณาเฉพาะผู้ที่พบเชื้อดื้อยาในกระแสเลือดต่อผู้ป่วยที่
พบเชื้อแบคทีเรีย 8 ชนิดในกระแสเลือด พบว่าในกลุ่มที่มีโปรแกรมฯ มีผู้ป่วยที่มีเชื้อดื้อยาในกระแสเลือด คิดเป็น
ร้อยละ 40 ของผู้ป่วยที่พบเชื้อแบคทีเรีย 8 ชนิดในกระแสเลือด ซึ่งลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่มีโปรแกรมฯ ซึ่งพบ
ผู้ป่วยที่มีเชื้อดื้อยาในกระแสเลือดคิดเป็นร้อยละ 50 ของผู้ป่วยที่ พบเชื้อแบคทีเรีย 8 ชนิดในกระแสเลือด
อย่างไรก็ตาม ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) ในส่วนของผลการรักษาของผู้ป่วย พบว่าทั้ง
ระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาล ระยะเวลาในการใช้ยาต้านจุลซีพ ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ระหว่างทั้งสองกลุ่ม (p > 0.05) แต่ในส่วนของผลการจำหน่ายพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้าน
การเสียชีวิตในโรงพยาบาล โดยกลุ่มที่มีโปรแกรมฯ มีผู้ป่วยเสียชีวิตในโรงพยาบาล 11 คน คิดเป็นร้อยละ 35.5
มากกว่ากลุ่มที่ไม่มีโปรแกรมฯ ซึ่งพบ 3 คน คิดเป็นร้อยละ 10.7 (P < 0.05) โดยสรุป ผลของการมีโปรแกรม
คอมพิวเตอร์ช่วยแจ้งเตือนเรื่องผลเพาะเชื้อและความไวต่อยาโดยเภสัชกรแก่แพทย์ต่ออัตราการปรับลดยาต้านจุลชีพ อัตราการเกิดเชื้อดื้อยาของผู้ป่วยในระยะสั้นเพียง 3 เดือน พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับการ
ไม่มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยแจ้งเตือน แต่ในด้านผลกรรักษาพบว่ากลุ่มที่มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยแจ้งเตือน
เสียชีวิตในโรงพยาบาลมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยแจ้งเตือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ