Abstract:
โรคติดเชื้อเดงกี (Dengue illness) สาเหตุเกิดจากเชื่อไวรัสเดงกี ซึ่งมี 4 สายพันธุ์ คือ DENV-1, DENV-2,
DENV-3 และ DENV-4 โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค อาการของโรคเป็นได้ทั้งไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย ที่เรียกว่า
ไข้เดงกี (DF) จนถึงมีอาการระดับรุนแรง คือไข้เลือดออกเดงกี (DHF หรือไข้เลือดออกช็อค (DSS) ในประเทศไทยมี
การแพร่ระบาดทั่วประเทศ และพบการเกิดโรคได้ในทุกกลุ่มอายุ มีอัตราการเสียชีวิตสูง หากไม่ได้รับการรักษาทันเวลา
และเหมาะสม ในปัจจุบัน ยังไม่ทราบกลไกการเกิด DHF และ DSS ที่แน่ชัด แต่พบว่าเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน เช่น
ปัจจัยจากตัวผู้ป่วย ได้แก่ อายุ เพศ โรคร่วม หรือปัจจัยจากไวร้ส ได้แก่ สายพันธุ์ของไวรัส ปริมาณเชื้อไวรัส ซึ่งจะ
ส่งผลให้เกิดการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่ต่างกัน ดังนั้นเพื่อที่จะหาตัวบ่งชี้ในการเกิดโรคที่รุนแรง จึงทำการศึกษาหา
ปริมาณเชื้อไวรัสเดงกี (via load) ในเลือดที่สัมพันธ์กับกรติดเชื้อที่เกิดอาการรุนแรง (ไข้เลือดออกเดงกี และ
ไข้เลือดออกช็อค) ร่วมกับสังเกตปัจจัยอื่นที่มีผลร่วมด้วย
การศึกษานี้เป็นการศึกษารูปแบบ prospective observation study โดยวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยจากศูนย์ความ
เป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคตในภาวะวิกฤต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จากเก็บข้อมูล ณ
โรงพยาบาลบ้านโป้ง และ โรงพยาบาลโพธาราม ได้แก่ ปริมาณไวรัส (viral load) ในรูปแบบปริมาณ RNA copies
ชนิด serotype อายุ เพศ อาการร่วม ระหว่างกลุ่มที่มีอาการรุนแรงและกลุ่มที่ไม่มีอาการรุนแรงทั้งสิ้น 274 คน
จัดเป็นกลุ่มที่อาการไม่รุนแรง (DF) 248 คน (ร้อยละ 90.55) และกลุ่มที่ มีอาการรุนแรง (DHF/DSS) 26 คน
(ร้อยละ 9.45) จากกรวิเคราะห์ทางสถิติพบว่ปัจจัที่ส่งผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ ปริมาณไวรัสเดงก็ในเลือด
(dengue viral load) (p-value = 0.037) และผู้ปวยที่มีโรคเบาหวานร่วม (p-value = 0.046) จากการศึกษา
แสดงให้เห็นว่า การตรวจพบปริมาณไวรัสเดงก็ในเลือด (dengue viral load) มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการทาง
คลินิกที่รุนแรง (DHF/DSS) แต่เนื่องจากการแจกแจงความถี่ของทั้ง 2 กลุ่มที่ไม่ต่างกันมาก ทำให้ไม่สามารถระบุจุดตัด
ของปริมาณไวรัสที่บ่งบอกภาวะไข้เลือดออกรุนแรงได้ และโรคเบาหวานเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดอาการรุนแรง
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมสำหรับการศึกษาในอนาคตอาจศึกษาในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเดงกีที่เกิดอาการรุนแรงจำนวนมากกว่านี้
และควบคุมลักษณะผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม ให้มีลักษณะที่คล้ายกันมากขึ้น เช่น มี โรคประจำตัวเหมือนกัน เพื่อลดปัจจัย
รบกวนที่อาจจะส่งผลต่อปริมาณไวรัส หรืออาการแสดงทางคสินิก