Abstract:
ปัญหาเรื่องฝนทิ้งช่วงในฤดูการเพาะปลูก เป็นอุปสรรคสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตโดยเฉพาะข้าวตกต่ำ อันจะก่อให้เกิดปัญหาสังคมและเศรษฐกิจตามมา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคหนึ่งของประเทศก็ประสบปัญหาดังกล่าวมาตลอด การแก้ไขปัญหาดังกล่าว จำจะต้องหาน้ำที่พืชต้องการมาชดเชยจากแหล่งอื่น ซึ่งอาจจะมาจากเขื่อน, ฝาย, บึงหนอง หรือสระน้ำที่ขุดขึ้น และในปัจจุบันยังไม่มีการวิเคราะห์ข้อมูล จำนวนฝนทิ้งช่วงที่แน่นอนภายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นข้อมูลหนึ่งที่จำเป็นในการวางแผนออกแบบและจัดการโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ในการศึกษาครั้งนี้ ได้นำข้อมูลฝนรายวันจากสถานีวัดน้ำฝนกว่า 85 สถานีภายในภาคมาวิเคราะห์หาจำนวนวันฝนทิ้งช่วง และฝนน้อย และการหาการกระจายของจำนวนวันฝนทิ้งช่วงดังกล่าวเคยได้ทดสอบการกระจายกับสมการการกระจายทั้งหมด 7 สมการ คือ สมการ truncated Normal, 2 parameter longnormal, 3 parameter longnormal, Type I exteremal, Pearson Type III, Longpearson Type III, Type III extermal พร้อมกันนั้นก็หาช่วงเวลาที่เกิดฝนทิ้งช่วงด้วย ผลการศึกษาพบว่า สมการการะกระจายแบบ 3 Parameter longnormal ในค่าที่ใกล้เคียงกับข้อมูลจริงมากที่สุด ภาวะฝนทิ้งช่วงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีโอกาสเกิดขึ้นมากที่สุดในเดือนมิถุนายน และมีจำนวนระหว่าง 10-45 วัน แล้วแต่พื้นที่และโอกาสเกิด พื้นที่ของภาคสามารถแบ่งออกเป็น 4 เขต ได้ตามความรุนแรงของภาวะฝนทิ้งช่วง ผลการศึกษาครั้งนี้วาดลงให้แผนที่แสดงจำนวนวันที่ฝนจะทิ้งช่วงหรือตกน้อย (น้อยกว่า 10,20,30 มม) ในโอกาสเกิดต่างๆ เช่น 50,20,10 เปอร์เซ็นต์ เพื่อใช้ในการประมาณจำนวนวันฝนทิ้งช่วงในพื้นที่ต่างๆทั่วทั้งภาค