Abstract:
สารแอสตาแซนธิน คือ สารในกลุ่มแคโรที่นอยด์ มีสีแดง ละลายได้ในไขมัน แหล่งจากธรรมชาติที่
พบสารแอสตาแซนธินได้มากที่สุดคือ Hgematococcus pluvialis โดยสารแอสตาแซนธินนี้ได้รับความสนใจ
จากนักวิจัยทั้งทางอุตสาหกรรมยาและเครื่องสำอางเนื่องจากประโยชน์ที่หลากหลายของแอสตาแซนธิน
อาทิ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ อย่างไรก็ตามยังไม่พบงานวิจัยที่ศึกษาผลของรูปแบบที่ต่างกันของสารสกัต
แอสตาแชนธิน เช่น ในรูปน้ำมันและเรชินต่อฤทธิ์ทางชีวภาพที่ได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
เปรียบเทียบฤทธิ์ทางชีวภาพ ได้แก่ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ คีเลชันของโลหะและการยับยั้งเอนไชม์
ไทโรชิเนสของสารสกัดแอสตาแซนธินในรูปของน้ำมัน (oil) และโอลีโอเรซิน (oleoresin) ที่มีจำหน่ายใน
ท้องตลาด โดยมีการพิสูจน์เอกลักษณ์ของสารสกัดแอสตาแซนธินทั้ง 2 ชนิด โดยใช้เครื่อง
UV spectrophotometer ที่ความยาวคลื่น 300-700 กm ในการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระทำโดยวิธี DPPH
และใช้อัลฟาโทโคฟีรอลเป็นกลุ่มควบคุมผลบวก ส่วนการศึกษาฤทธิ์คีเลชันของโลหะทำโดยวิธีการคีเลชันของ
เฟอร์รัสไอออนและใช้ EDTA เป็นกลุ่มควบคุมผลบวก ในการศึกษาฤทธิ์การยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสจะใช้แอล
ไทโรซีนเป็นสารตั้งต้นปฏิกิริยากับเอนไซม์ทโรชิเนสจากเห็ดเพื่อให้เกิดเม็ดสีเมลานิน โดยใช้กรดโคจิกเป็น
กลุ่มควบคุมผลบวก จากผลการศึกษาที่ได้ พบว่าสารสกัดแอสตาแซนธินในรูปของ oil และ o(eoresin มี
ลักษณะการดูดกลืนแสงที่คล้ายกัน โดยความยาวคลื่นที่สารสกัดดูดกลืนแสงได้มากที่สุด คือ 476 กm สารสกัด
แอสตาแชนธินในรูปของ oil มีประสิทธิภาพต้านอนุมูลอิสระโดยมีค่า ICso เท่ากับ 0.4981 t 0.17 m/mL
นอกจากนี้ สารสกัดแอสตาแชนธินในรูปของ ๑i! ที่ความเข้มข้น 500 ug/mL มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่า
ในรูปของ oleoresin ถึง 3 เท่า ส่วนอัลฟาโทโคฟีรอลแสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้โดยมีค่า ICs เท่ากับ
19.25 + 0.08 ug/mL ในส่วนของฤทธิ์คีเลชันของโลหะพบว่าสารแอสตาแซนธินทั้งในรูป oil และ oleoresin
ไม่มีฤทธิ์คีเลชันของโลหะ อย่างไรก็ตามสารแอสตาแชนธินในรูปของ oeoresin ที่ความเข้มขันต่ำ ๆ พบเกิด
การคีเลชันของโลหะเพิ่มขึ้น ส่วน EDTA แสดงฤทธิ์คีเลชันของโลหะได้โดยมีค่า ICso เท่ากับ 20.65 + 0.98
19/mLในส่วนของฤทธิ์ยับยั้งเอนซม์ไทโรชิเนสไม่สามารถทดสอบได้เนื่องจากพบปัญหาเกี่ยวกับเอนไซม์ไทโร
ซิเนส การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสารแอสตาแซนธินในรูปของ oil และ leoresin มีความสามารถในการออก
ฤทธิ์ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยพบว่าสารแอสตาแชนธินในรูปของ oil มีความเหมาะสมที่จะใช้เป็นสาร
ออกฤทธิ์ทางยาและเครื่องสำอางเพื่อหวังผลในด้านฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ