Abstract:
ชีวิตประจำวันรวมไปถึงผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับเส้นผม เช่น น้ำหอมฉีดผม อย่างไรก็ตามน้ำมันหอมระเหยเป็นสารที่มี
โมเลกุลขนาดเล็กระเหยได้เร็วรวมถึงเสื่อมสลายได้ง่ายเมื่อเจอกับออกซิเจนในอากาศ ทำให้กลิ่นหอมที่ได้ไม่คงทน
ดังนั้นจึงต้องหาเทคนิคที่เหมาะสมที่ช่วยลดอัตราการระเหยของ EO ให้กลิ่นสามารถอยู่บนเส้นผมได้นานขึ้น
การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาอนุภาคขนาดไมครอนเก็บกักน้ำมันหอมระเหย (microencapsulation of
EO) เพื่อให้กลิ่นหอมคงอยู่นานขึ้น โดยใช้น้ำมันหอมระเหยเจอราเนียม (geranium oil) ความเข้มข้น 0.5% เป็น
สารสำคัญ และใช้ไคโตชานเป็นสารห่อหุ้มซึ่งในการทดลองนี้จะใช้ไคโตซานทั้งหมด 3 ความเข้มขัน คือ 0.5, 1.0, และ
1.5 %w/w แล้วนำไปผ่านกระบวนการ homogenization 2 วิธี วิธีที่ 1 เตรียมโดยเครื่ อง rotor-stator
homogenizer ด้วยความเร็วรอบ 15,000 rPm เป็นเวลา 4 นาที วิธีที่ 2 เตรียมโดยเครื่ อง rotor-stator
homogenizer ด้วยความเร็วรอบ 15,000 rpm เป็นเวลา 4 นาที ตามด้วย high pressure homogenizer ที่ความ
ดัน 100 - 120 MPa จำนวน 1 รอบ หลังจากนั้นทำการประเมินความคงตัวของอนุภาคที่เตรียมได้ โดยเก็บผลิตภัณฑ์
ที่เตรียมได้ไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 21 วัน และมีการติดตามผลทุก ๆ 7 วัน โดยสังเกตลักษณะภายนอก คือ ความ
เป็นเนื้อเดียวกันและการแยกชั้น วัดค่าพืเอช ประเมินลักษณะสัณฐานวิทยาของอนุภาค (morphology) โดยใช้กล้อง
จุลทรรศน์ Microscope (Nikon) กำลังขยาย 100x และวัดขนาดและการกระจายของขนาดโดยใช้กล้องจุลทรรศน์
Invert Microscope (Nikon TS2) กำลังขยาย 40x โดยสุ่มวัดขนาดอนุภาคจำนวน 100 อนุภาค จากนั้นทำการ
คัดเลือกสูตรที่ดีที่สุด 3 สูตร เพื่อนำไปประเมินด้านความรู้สึก (sensory evaluation) โดยทดสอบกลิ่นหอมของ
gera n ium oil ที่คงอยู่หลังสเปรย์อนุภาคที่เตรียมได้ลงบนเส้นผมนาน 120 นาที และทดสอบความสามารถในการเพิ่ม
ความนุ่มลื่นและความเงางามของเส้นผม จากผลการทดลองที่ได้ พบว่าอนุภาคขนาดไมครอนที่เตรียมขึ้นโดยวิธีที่ 2
ทุกสูตรมีความคงตัวทางกายภาพ ไม่แยกชั้นเมื่อเก็บที่อุณหภูมิห้องนาน 21 วัน โดยสูตรที่มีการเติมสารกันเสียมีค่าพี
เอชคงที่ เมื่อดูสัณฐานวิทยาของอนุภาคที่ได้ผ่านกล้องจุลทรรศน์ Microscope (Nikon) พบหยดน้ำมัน (oil droplet)
กระจายอย่างสม่ำเสมอในวัฏภาคภายนอก โดยทั้ง 3 สูตรมีขนาดอนุภาคเฉลี่ยหลังเตรียมเสร็จทันที และหลังเก็บเป็นระยะเวลา 21 วัน เท่ากับ 0.14 + 0.06 [m และ 0.14 : 0.05 [m ตามลำดับ ซึ่งขนาดอนุภาคที่ได้ไม่มีความ
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในส่วนของ sensory test พบว่าอนุภาคที่เตรียมจากไคโตซาน 1.5% ให้กลิ่น
หอมของ geranium oi ที่เวลา 120 นาทีหลังใช้สูงกว่าอนุภาคที่เตรียมจากไคโตซาน 0.5 และ 1.0% และสูตรที่ไม่มี
การใส่ chitosan อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และอนุภาคที่เตรียมจากไคโตซาน 1.0 และ 1.5% ช่วยเพิ่ม
ความนุ่มลื่นและความเงางามได้ดีกว่าอนุภาคที่เตรียมจากไคโตซาน 0.5% ดังนั้นอนุภาคขนาดไมครอนที่เตรียมขึ้นจาก
ไคโตชาน 1.5% เก็บกักน้ำมันหอมระเหยเจอราเนียม เป็นสูตรที่ดีที่สุดที่อาจนำไปพัฒนาต่อเพื่อใช้เป็นผลิตภัณฑ์
น้ำหอมฉีดผมต่อไป