Abstract:
แหล่งหญ้าทะเลมีความสำคัญในระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง เนื่องจากเป็นแหล่งอนุบาล แหล่ง อาหาร แหล่งหลบภัยของสัตว์มีกระดูกสันหลังและไม่มีกระดูกสันหลัง เป็นแหล่งผลิตก๊าซออกซิเจนที่สำคัญ นอกจากนี้หญ้าทะเลยังช่วยลดการกัดเซาะชายฝั่งได้ดี โดยหญ้าทะเลจะช่วยยึดเกาะตะกอนให้ไม่ถูกพัดไปกับ คลื่น และที่เกาะลิบง จังหวัดตรัง มีแหล่งหญ้าทะเลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มศึกษาการเปลี่ยนแปลง ของพื้นที่หญ้าทะเลที่เกาะลิบงจากการสำรวจตำแหน่งของหญ้าทะเลที่แน่นอน แล้วนำภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-2 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2558-2564 อย่างน้อยปีละ 1 ภาพ โดยเลือกภาพที่มีสภาพสิ่งแวดล้อมใกล้เคียงกัน เช่น ปริมาณเมฆ ระดับนํ้าทะเล และคลื่นลม และจัดการภาพถ่ายดาวเทียมด้วยโปรแกรม SNAP โดยการตัด ภาพให้เหลือเพียงบริเวณที่สนใจ คือ บริเวณเกาะลิบง และสร้าง Mask จากนั้นวิเคราะห์หาพื้นที่หญ้าทะเลโดย วิธีการจำแนกแบบกำกับดูแลทำการจำแนกพื้นที่ออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ พื้นที่หญ้าทะเล พื้นที่ที่ไม่ใช่หญ้าทะเล พื้นที่หาดทราย และพื้นที่นํ้าลึก จากนั้นคำนวณหาพื้นที่รวมของแหล่งหญ้าทะเล โดยในปี พ.ศ.2558 และ2564 ไม่มีภาพที่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ ผลการศึกษาพบว่า พ.ศ.2559 2560 2561 2562 และ2563 มีพื้นที่หญ้า ทะเล 2.537 3.518 3.844 4.202 และ 1.858 ตารางกิโลเมตรตามลำดับ ดังนั้นพื้นที่หญ้าทะเลจึงมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น แต่ในปี พ.ศ.2563 มีพื้นที่หญ้าทะเลลดลงเนื่องจากคาดว่าสาเหตุคือการทิ้งตะกอนใกล้กับแหล่งหญ้า ทะเล การตรวจสอบความถูกต้อง พบว่าในปี พ.ศ.2559 2560 2561 2562 และ2563 มีความถูกต้องในการจำแนกหญ้าทะเล 36.67% 50% 43.33% 66.67% และ 80% ตามลำดับ เนื่องจากในขั้นตอนการจำแนกแบบ กำกับดูแลของพื้นที่หญ้าทะเลและพื้นที่ที่ไม่ใช่หญ้าทะเลมีลักษณะบ่งชี้เชิงสเปกตรัมที่ใกล้เคียงกันมาก และใช้ พื้นที่หญ้าทะเลปี พ.ศ.2563 เป็นปีอ้างอิงในการตรวจความถูกต้อง