Abstract:
ความต้องการใช้น้ำจืดในการอุปโภคบริโภค เกษตรกรรม และอุตสาหกรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำปราณบุรี ซึ่งเป็นลุ่มน้ำขนาดเล็กในปริมาณสูงบวกกับบริเวณต้นน้ำยังมีเขื่อนปราณบุรีที่มีการกักเก็บน้ำเพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำ ต้นทุน อาจส่งผลให้เกิดปัญหาการรุกของน้ำเค็มในพื้นที่ลุ่มน้ำปราณบุรีได้โดยเฉพาะช่วงฤดูแล้ง ที่การปล่อยน้ำ จากเขื่อนมีปริมาณน้อยดังนั้นการศึกษาปัญหาการรุกของน้ำเค็มในบริเวณลุ่มน้ำปราณบุรีจึงมีความจำเป็น ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ ในการศึกษาจะใช้แบบจำลองอุทกพลศาสตร์ Delft3D-FLOW เพื่อพิจารณาการ เคลื่อนตัวของความเค็มจากทะเลสู่แม่น้ำปราณบุรีโดยใช้ข้อมูลน้ำขึ้นน้ำลง ความเค็มบริเวณขอบเขตเปิดด้านทะเล และปริมาณน้ำท่าจากเขื่อนปราณบุรีบริเวณขอบเขตเปิดของต้นน้ำ และลมที่ผิวเป็นแรงขับ ผลการศึกษา พบว่า การรุกของน้ำเค็ม (เปรียบเทียบตำแหน่งที่ใกล้ที่สุดในแม่น้ำที่พบความเค็มเข้าใกล้ 0 ppt) สัมพันธ์กับ ปริมาณการปล่อยน้ำของเขื่อนปราณบุรี กล่าวคือในช่วงที่มีการปล่อยน้ำจากเขื่อนน้อย (เดือนมกราคม กรกฎาคม และธันวาคม) ค่าความเค็มจะสามารถรุกเข้าไปในแม่น้ำ ได้มากกว่าช่วงที่มีการปล่อยน้ำจากเขื่อนมาก (ปลายเดือนสิงหาคมถึงกลางเดือนพฤศจิกายน) เนื่องจากปริมาณน้ำดังกกล่าวจะดันน้ำเค็มไม่ให้รุกเข้าสู่ แม่น้ำ และจะสามารถรุกเข้าไปในแม่น้ำได้ไกลมากขึ้นเมื่อกำหนดให้ระดับน้ำที่ขอบเขตเปิดด้านทะเลมีค่าสูงขึ้น (เพิ่มค่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ยปานกลาง) แต่อย่างไรก็ตามตำแหน่งการรุกของน้ำเค็มจากแบบจำลองยังมีค่าแตกต่างจากการสำรวจภาคสนาม ดังนั้นจึงพิจารณาดึงน้ำออกจากต้นน้ำ (แทนการสูบน้ำไปประใช้ประโยชน์ ระหว่างทางของประชาชน) ในแบบจำลอง พบว่าค่าความเค็มสามารถรุกเข้าไปได้ไกลมากกว่าแบบจำลองที่ เพิ่มค่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ยปานกลาง และไม่ได้มีการสูบน้ำออก และค่าการรุกมีค่าใกล้เคียงกับค่าจากการ สำรวจภาคสนามมากขึ้น ผลจากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปศึกษาต่อยอดและใช้ในการบริหารจัดการการ ปล่อยน้ำเพื่อใช้ประโยชน์ในการเกตรกรรม อุตสาหกรรม และป้องกันการรุกของน้ำเค็มบริเวณแม่น้ำปราณบุรีได้