Abstract:
การจัดการทรัพยากรทางการประมงนั้นย่อมมีความสัมพันธ์ต่อปริมาณทรัพยากร และต้องมีความ ตระหนักถึงการบริหารจัดการระบบนิเวศ แหล่งที่อยู่อาศัย และความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดต่อ สายใยอาหารในแต่ละบริเวณ การจัดการประมงส่วนใหญ่มักจะพิจารณาเพียงค่าสัมประสิทธิการตายและผลผลิตที่จะได้จากสิ่งมีชีวิตเป้าหมาย โดยมิได้คำนึงถึงปัจจัยภายนอกที่อาจจะส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตเป้าหมาย และสิ่งแวดล้อมต่างๆในบริเวณที่ทำการประมง งานวิจัยนี้มุ่งเน้นถึงความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าปริมาณการจับสัตว์น้ำ ต่อหน่วยการลงแรงประมง ที่เป็นผลมาจากการแปรผันของปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดในมหาสมุทรและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดในชั้นบรรยากาศ เช่น ปรากฏการณ์ เอลนีโญ (El Niño) ลานีญา (La Niña) และปรากฏการณ์ความแปรปรวนของการไหลเวียนของมวลอากาศและมวลน้ำในมหาสมุทรที่เกิดขึ้นในบริเวณของมหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Decadal Oscillation) เป็นต้น งานวิจัยนี้เป็นการนำข้อมูลทุติยภูมิด้านการจับสัตว์น้ำ ของกรมประมงและ ข้อมูลสิ่งแวดล้อมจากภาพถ่ายทางดาวเทียม เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบหาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงค่าปริมาณการจับสัตว์น้ำ ต่อหน่วยการลงแรงประมง โดยพบว่าปริมาณการจับสัตว์ น้ำ หน้าดินต่อหน่วยการลงแรงประมงมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับค่าปริมาณน้ำท่า และค่าปริมาณการจับปลา ผิวน้ำ ที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับค่าดัชนีของ Pacific Decadal Oscillation