Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สองประการ ประการแรกเพื่อศึกษาอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในนวนิยาย จีนเรื่อง “เทียนถางซฺว่านถายจือเกอ” ประการที่สองเพื่อวิเคราะห์อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในนวนิยายจีน เรื่อง “เทียนถางซฺว่านถายจือเกอ” เปรียบเทียบกับการแปลเพื่อการสื่อสารในฉบับแปลภาษาไทยเรื่อง “ลำนำกระเทียม” ผลการศึกษาพบว่า อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในนวนิยายจีน “เทียนถางซฺว่านถายจือเกอ” สามารถ แบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ได้แก่ มโนอุปลักษณ์สิ่งมีชีวิตและมโนอุปลักษณ์สิ่งไม่มีชีวิต มโนอุปลักษณ์ส่วนใหญ่ที่พบคือมโนอุปลักษณ์สิ่งมีชีวิต มโนอุปลักษณ์ดังกล่าวที่พบทั้งสองสะท้อนถึง วัฒนธรรมด้านต่าง ๆ ของชาวจีน เช่น ชีวิตความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อม สภาพภูมิอากาศ และความคิดและ ความเชื่อ เป็นต้น จากการเปรียบเทียบอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในต้นฉบับกับฉบับแปลดังกล่าวข้างต้น พบการแปล สองประเภทหลัก ได้แก่ 1) การแปลที่พยายามรักษารูปแบบการใช้อุปลักษณ์ของต้นฉบับและ 2) การ แปลแบบเอาความ การแปลที่พยายามรักษารูปแบบการใช้อุปลักษณ์ของต้นฉบับสามารถแบ่งออกเป็น (1) แปลตรงและภาษาไทยใช้ตัวเปรียบเดียวกัน (2) แปลตรงแต่ภาษาไทยไม่ได้ใช้ตัวเปรียบเดียวกันและ (3) แปลตรงบางส่วน ส่วนการแปลแบบเอาความสามารถแบ่งออกเป็น (1) แปลแบบอธิบายความและ (2) แปลด้วยถ้อยคำ ภาษาไทยในลักษณะเดียวกัน จากการศึกษาพบว่าส่วนใหญ่ผู้แปลใช้การแปลแบบ เอาความ เนื่องจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกันระหว่างไทยกับจีนทำให้อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ของจีนต่างกับ ไทย รองลงมาได้แก่การแปลตรงและภาษาไทยใช้ตัวเปรียบเดียวกัน เพราะแม้วัฒนธรรมส่วนใหญ่ แตกต่างกัน แต่อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ก็มีความคล้ายคลึงกันอยู่บ้างหรือการใช้อุปลักษณ์ของต้นฉบับจีน สื่อความหมายได้เห็นภาพตรงไปตรงมาที่ผู้อ่านชาวไทยเข้าใจได้ และยังรวมถึงการที่ผู้แปลต้องการรักษา อรรถรสของเรื่องจึงต้องการคงอุปลักษณ์ในต้นฉบับไว้