DSpace Repository

การพัฒนาหลักสูตรศิลปศึกษาโดยใช้สถานที่เป็นฐานเพื่อสร้างนวัตกรรมศิลปวัฒนธรรมชุมชนชานเมือง

Show simple item record

dc.contributor.advisor อภิชาติ พลประเสริฐ
dc.contributor.advisor วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา
dc.contributor.author ประติมา ธันยบูรณ์ตระกูล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-09-16T08:00:05Z
dc.date.available 2022-09-16T08:00:05Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80528
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ด.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 en_US
dc.description.abstract การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรศิลปศึกษาโดยใช้สถานที่เป็นฐานเพื่อสร้างนวัตกรรมศิลปวัฒนธรรมชุมชนชานเมือง นำเสนอการพัฒนาหลักสูตร และศึกษาผลของการทดลองใช้หลักสูตร การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาเอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 18 ท่าน และเก็บข้อมูลจากผู้เรียนจำนวน 15 คน มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เกี่ยวกับองค์ประกอบของการพัฒนาหลักสูตร 2) สร้างหลักสูตรและเครื่องมือสำหรับวัดและประเมินผลแล้วตรวจสอบคุณภาพหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญ 3) นำหลักสูตรไปทดลองใช้ 4) ศึกษาผลการใช้และปรับปรุงหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 จำนวน 60 คน ใน 6 ชุมชน ชุมชนละ 10 คน จัดกิจกรรมการเรียนรู้รวม 8 กิจกรรม ระยะเวลา 36 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้เรียน สื่อรูปภาพ (Pile sorting) การอุปมาอุปไมยเชิงภาพ (Pictorial ethnography) หลักสูตร แบบทดสอบความรู้ (ก่อนและหลังเรียน) แบบประเมินชิ้นงาน แบบสังเกตพฤติกรรม การเรียนรู้ แบบประเมินผลการเรียนเป็นกลุ่ม แบบประเมินผลงานนวัตกรรมศิลปวัฒนธรรมชุมชน แบบประเมินความพึงพอใจ และการเขียนสะท้อนคิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t ผลการศึกษาพบว่าองค์ประกอบของหลักสูตร ประกอบด้วย 1) แนวคิดของหลักสูตร 2) วัตถุประสงค์ 3) สาระการเรียนรู้ ได้แก่ ศิลปวัฒนธรรมชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น การสร้างนวัตกรรม และสื่อสร้างสรรค์เพื่อต่อยอดเชิงพาณิชย์ 4) การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานที่เป็นฐาน ดังนี้ 4.1 การเชื่อมโยงผู้เรียนกับท้องถิ่นของตน 4.2) การค้นคว้าเกี่ยวกับท้องถิ่น 4.3) การค้นคว้าแบบองค์รวม 4.4) การมีส่วนร่วมในท้องถิ่น 5) กระบวนการพัฒนานวัตกรรมศิลปวัฒนธรรมชุมชน โดยใช้แนวคิดการออกแบบ Design Thinking และกระบวนการคิดสร้างสรรค์แบบ Synectics มี 7 ขั้นตอน ดังนี้ 5.1) ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา 5.2) วิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการ 5.3) ออกแบบนวัตกรรม 5.3.1 ขั้นสร้างแรงบันดาลใจ 5.3.2 ขั้นเทคนิคที่สนใจ 5.3.3) ขั้นประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 5.3.4) ขั้นออกแบบแบบ Synectics 5.4) สร้างหรือพัฒนานวัตกรรม 5.5) ทดลองใช้นวัตกรรม 5.7 สรุปรายงาน และเผยแพร่ 6) สื่อและแหล่งเรียนรู 7) การประเมินผล 8) การสะท้อนคิด และ 9) ลักษณะผู้เรียน ผลการนำหลักสูตรไปใช้สรุปได้ว่า 1) ในการนำหลักสูตรไปทดลองใช้พบว่า เมื่อนำคะแนนมาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 2) โดยภาพรวมของผลงานนวัตกรรมศิลปวัฒนธรรมชุมชนมีคุณภาพผลงานอยู่ในระดับดีเยี่ยม (x = 4.50) 3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจในหลักสูตรในระดับมากที่สุด (x = 4.50) ทั้งนี้ควรมีการศึกษาเพื่อขยายผลการใช้หลักสูตรในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น en_US
dc.description.abstractalternative The research aims to study and collect knowledge about the development of art education courses base on locations to create innovative arts and culture in suburban communities. To present curriculum development and to study the results of the course trial. The research was divided into 4 steps: 1) Study of relevant documents and theories In-depth interviews with 18 experts and collected information from 15 students to analyze and synthesize about the elements of the development of course 2) Create course and tools for measuring and evaluating and validating the quality of courses by experts. 3) Take the course to try it out. 4) Study the results of using and improving the course examination. The sample group consisted of 60 students in grade 5 - 6, from six communities, 10 students in each community. Learning activities were composed of 8 activities, duration of 36 hours. The research instruments were interviews for experts and learners, pile sorting, pictorial ethnography, art education courses, achievement test (pretestposttest), evaluation form learning behavior, observation form group, evaluation form for innovation in the art and culture of the community, satisfaction assessment form, and reflection writing. Data was analysis by frequency, percentage, content analysis, mean, standard deviation and t-test. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1020
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การวางแผนหลักสูตร
dc.subject ศิลปกรรม -- การศึกษาและการสอน
dc.subject Curriculum planning
dc.subject Art -- Study and teaching
dc.title การพัฒนาหลักสูตรศิลปศึกษาโดยใช้สถานที่เป็นฐานเพื่อสร้างนวัตกรรมศิลปวัฒนธรรมชุมชนชานเมือง en_US
dc.title.alternative Development of Place-Based Art Education Curriculum to Create Suburban Community Artistic and Cultural Innovations en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.discipline พัฒนศึกษา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2018.1020


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record