Abstract:
ปะการังเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่อาศัยร่วมกับสาหร่ายเซลล์เดียว (zooxanthellae) ในลักษณะพึ่งพาอาศัย สาหร่ายซูแซนเทลลีสามารถถ่ายทอดพลังงานมากถึง 95 เปอร์เซ็นต์แก่ปะการังผ่านกระบวนการสังเคราะห์ ด้วยแสง ด้วยเหตุนี้แสงจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของปะการัง จากผลการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า แสง ในช่วงความยาวคลื่นสีนํ้าเงินส่งผลให้ปะการังสามารถเจริญเติบโตได้รวดเร็วกว่าคลื่นแสงสีขาว (แสงธรรมชาติ) และสีแดง อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านยังไม่ปรากฏการศึกษาเกี่ยวกับความแตกต่างในการตอบสนองของช่วงคลื่นแสง ดังกล่าวในปะการังระยะวัยอ่อนและระยะโตเต็มวัยในปะการังเขากวาง Acropora humilis การศึกษาครั้งนี้จึง ใช้ปะการังเขากวาง A. humilis ที่ได้จากการเพาะขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศในช่วงอายุ 2 ปี และปะการังระยะ โตเต็มวัยจากธรรมชาติอายุมากกว่า 5 ปี นำมาทดลองในช่วงคลื่นแสงสีนํ้าเงินและแสงสีแดงเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ โดยทำการเก็บตัวอย่างในสัปดาห์ที่ 2 และสัปดาห์สุดท้ายของการทดลอง เพื่อนำตัวอย่างมาศึกษา ความหนาแน่นของสาหร่ายซูแซนเทลลีโดยการสุ่มนับจำนวนเซลล์และการตรวจวิเคราะห์ความหลากหลาย สกุลของสาหร่ายด้วยวิธีการทางชีวโมเลกุล จากผลการศึกษาพบว่าแสงสีนํ้าเงินช่วยเพิ่มการเติบโตของปะการัง ระยะโตเต็มวัยได้ดีกว่าแสงสีแดง ทำให้มีความหนาแน่นของสาหร่ายซูแซนเทลลีสูงกว่า แต่ในปะการังระยะวัย อ่อนแสงสีนํ้าเงินและแสงสีแดงไม่ได้ให้ผลต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญ จึงกล่าวได้ว่าการตอบสนองของปะการัง ต่อความยาวคลื่นแสงที่แตกต่างกันจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้านอายุของปะการังด้วย