DSpace Repository

ผลของความยาวคลื่นแสงสีนํ้าเงินและสีแดงต่อการเจริญเติบโตของปะการังเขากวาง Acropora humilis ระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ในจังหวัดชลบุรี ประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุชนา ชวนิชย์
dc.contributor.author สุภัชชา จ่าปะคัง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-09-27T08:21:59Z
dc.date.available 2022-09-27T08:21:59Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80543
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 en_US
dc.description.abstract ปะการังเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่อาศัยร่วมกับสาหร่ายเซลล์เดียว (zooxanthellae) ในลักษณะพึ่งพาอาศัย สาหร่ายซูแซนเทลลีสามารถถ่ายทอดพลังงานมากถึง 95 เปอร์เซ็นต์แก่ปะการังผ่านกระบวนการสังเคราะห์ ด้วยแสง ด้วยเหตุนี้แสงจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของปะการัง จากผลการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า แสง ในช่วงความยาวคลื่นสีนํ้าเงินส่งผลให้ปะการังสามารถเจริญเติบโตได้รวดเร็วกว่าคลื่นแสงสีขาว (แสงธรรมชาติ) และสีแดง อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านยังไม่ปรากฏการศึกษาเกี่ยวกับความแตกต่างในการตอบสนองของช่วงคลื่นแสง ดังกล่าวในปะการังระยะวัยอ่อนและระยะโตเต็มวัยในปะการังเขากวาง Acropora humilis การศึกษาครั้งนี้จึง ใช้ปะการังเขากวาง A. humilis ที่ได้จากการเพาะขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศในช่วงอายุ 2 ปี และปะการังระยะ โตเต็มวัยจากธรรมชาติอายุมากกว่า 5 ปี นำมาทดลองในช่วงคลื่นแสงสีนํ้าเงินและแสงสีแดงเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ โดยทำการเก็บตัวอย่างในสัปดาห์ที่ 2 และสัปดาห์สุดท้ายของการทดลอง เพื่อนำตัวอย่างมาศึกษา ความหนาแน่นของสาหร่ายซูแซนเทลลีโดยการสุ่มนับจำนวนเซลล์และการตรวจวิเคราะห์ความหลากหลาย สกุลของสาหร่ายด้วยวิธีการทางชีวโมเลกุล จากผลการศึกษาพบว่าแสงสีนํ้าเงินช่วยเพิ่มการเติบโตของปะการัง ระยะโตเต็มวัยได้ดีกว่าแสงสีแดง ทำให้มีความหนาแน่นของสาหร่ายซูแซนเทลลีสูงกว่า แต่ในปะการังระยะวัย อ่อนแสงสีนํ้าเงินและแสงสีแดงไม่ได้ให้ผลต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญ จึงกล่าวได้ว่าการตอบสนองของปะการัง ต่อความยาวคลื่นแสงที่แตกต่างกันจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้านอายุของปะการังด้วย en_US
dc.description.abstractalternative Hermatypic corals are marine organisms that have a mutually beneficial symbiotic relationship with single-cell algae called zooxanthellae. Those algae are embedded in coral tissue and can provide approximately 95 percent of the energy generated through photosynthesis for their host. Thus, light plays a significant role in coral growth. Previous studies revealed that altered light spectrums have different influences on zooxanthellae density and coral's health. Blue light gives a positive result, higher zooxanthellae density and growth rate than white and red light. However, prior studies have not investigated the different responses among juvenile and adult coral Acropora humilis. In this study, we cultivate 2-year-old cultured corals from sexual propagation, and above 5-year-old collected corals under blue and red light treatments (12/12 h light-and-dark cycle) for eight weeks. Samples were collected on the second and eighth week to quantify zooxanthellae density and qualify genetic biodiversity. The result from the altered light spectrum experiment on adult corals showed that blue light affects growth by enhancing the zooxanthellae density. While on the contrary, red light resulted in lower zooxanthellae density. However, blue and red light did not show a significant difference in the growth of juvenile coral. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ปะการัง -- การเจริญเติบโต en_US
dc.subject Corals -- Growth en_US
dc.title ผลของความยาวคลื่นแสงสีนํ้าเงินและสีแดงต่อการเจริญเติบโตของปะการังเขากวาง Acropora humilis ระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ในจังหวัดชลบุรี ประเทศไทย en_US
dc.title.alternative Effects of blue and red light wavelength on the development of Acropora humilis at different ages en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record