dc.contributor.advisor |
สุริยัณห์ สาระมูล |
|
dc.contributor.advisor |
สุจารี บุรีกุล |
|
dc.contributor.author |
ชุดามาศ เจริญพร |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-09-27T09:13:30Z |
|
dc.date.available |
2022-09-27T09:13:30Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80545 |
|
dc.description |
โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 |
en_US |
dc.description.abstract |
ปากแม่น้ำปราณบุรีตั้งอยู่ทางตะวันตกของอ่าวไทย ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม 2 ฤดู คือ ฤดูลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ และฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ซึ่งในช่วงฤดูมรสุมส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเล ซึ่งอาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงธรณีสัณฐานชายฝั่งได้ นอกจากนี้ยังพบโครงสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ (Jetties) บริเวณปากแม่น้ำและเขื่อนกันคลื่น (Breakwater) บริเวณตอนเหนือปากแม่น้ำปราณบุรีอีกด้วย ซึ่งโครงสร้างทั้ง 2 อาจส่งผลทำให้ทิศทางการไหลของกระแสน้ำ อัตราการกัดเซาะและการสะสมของตะกอนเปลี่ยนแปลงในการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของระดับความลาดชันของชายหาดและพื้นท้องน้ำตามฤดูกาลบริเวณตอนเหนือของปากแม่น้ำปราณบุรี โดยการสำรวจความลาดชันชายหาดและความลึกพื้นท้องน้ำใน 2 ฤดู คือฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (เดือนกันยายน พ.ศ. 2563) และฤดูลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564) พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างตะกอนเพื่อวิเคราะห์ขนาดอนุภาคตะกอนของพื้นที่ดังกล่าว จากการศึกษาขนาดตะกอนพบว่าตะกอนขนาด 0.125 มิลลิเมตร เป็นชนิดเด่นในทั้ง 2 ฤดู โดยรวมความลึกพื้นท้องน้ำจากฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ถึงฤดูลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีค่าเพิ่มขึ้น (เกิดการกัดเซาะ) ยกเว้นบริเวณแนวด้านหลังของเขื่อนกันคลื่นมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างต่ำ และผลจากการศึกษาความลาดชันชายหาดจากฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ถึงฤดูลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมพบการทับถมของตะพาน ซึ่งอาจถูกพัดพาโดย Longshore transport จากทางตอนเหนือของพื้นที่ จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงความลาดชันและความลึกพื้นท้องน้ำในครั้งนี้พบว่ามีผลไปในทางตรงกันข้าม ตามทฤษฎีในช่วงฤดูลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือควรพบการทับถมของตะกอนมากกว่าการกัดเซาะ แต่ในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงพื้นท้องน้ำพบการกัดเซาะจากข้อมูล ซึ่งความแตกต่างนี้อาจเป็นผลมาจากข้อมูลระดับน้ำอ้างอิงที่ใช้ในการคำนวณค่าความลึกน้ำมีความคลาดเคลื่อน อีกทั้งในพื้นที่ดังกล่าวยังมีความซับซ้อนของลักษณะพื้นท้องน้ำที่ได้รับอิทธิพลจากเขื่อนกันคลื่น 3 ตัว |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Pranburi River Mouth is located on the western coast of the Gulf of Thailand which is influenced by 2 monsoon seasons. Northeast monsoon often hits the coast between November and February, while southwest monsoon occurs regularly between May and September. Changes in sea level during monsoon seasons may alter coastal geomorphology. In addition, Jetties and three breakwaters are found at the Mouth of Pranburi River and the northern part of Pranburi River Mouth, respectively. The presence of those jetties and breakwaters may alter hydrodynamic regimes, and erosion and deposition rate. The objective of this research was to study beach profile and bathymetric changes during monsoon seasons at the northern part of Pranburi River Mouth. To measure beach profile and bathymetry and collect sediment samples for grain size analysis, 2 field surveys were carried out in September 2020 (during southwest monsoon) and February 2021 (during northeast monsoon). The result from grain size analysis showed that 0.125 mm is the most dominant grain. Overall, bathymetry from southwest monsoon to northeast monsoon increased (sediment erosion), except for the area behind the breakwater that showed a little change. According to beach profile change from southwest monsoon to northeast monsoon, it indicated sediment deposition. This may cause by longshore transport from the north brought sediment and deposited there. Theoretically, sediment deposition is likely to be found during northeast monsoon. However, from bathymetric change study, study, sediment erosion was observed. This difference may come from water level reference data used to correct water depth was not accurate and a complexity of bathymetry due to the breakwater structure. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
ตะกอนแม่น้ำ -- แม่น้ำปราณบุรี |
en_US |
dc.subject |
การตกตะกอนชายฝั่ง |
en_US |
dc.subject |
River sediments -- Pranburi River |
en_US |
dc.subject |
Marine sediments |
en_US |
dc.title |
การเปลี่ยนแปลงความลาดชันชายหาดและพื้นท้องน้ำระหว่างฤดูมรสุมบริเวณตอนเหนือปากแม่น้ำปราณบุรี |
en_US |
dc.title.alternative |
Beach profile and bathymetric changes during monsoon season in the northern part of Pranburi River Mouth |
en_US |
dc.type |
Senior Project |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |