Abstract:
ไมโครพลาสติกหรืออนุภาคพลาสติกที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 5 มิลลิเมตร มีแนวโน้ม ปนเปื้อนใน แหล่งน้ำมากขึ้นและมีความเสี่ยงต่อสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศโดยเฉพาะกลุ่มที่กรองกินอาหารจากในมวลน้ำ เช่น กลุ่มกุ้งเคยซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้ทำกะปิและเป็นอาหารของมนุษย์ อย่างไรก็ตามยังไม่เคยมีรายงานระดับการ ปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในกุ้งเคยมาก่อน การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาปริมาณและชนิดของ ไมโครพลาสติกที่พบในกุ้งเคยสกุล Acetes และกลุ่ม Mysid ในบริเวณอ่าวไทยตอนบน โดยเก็บตัวอย่างกุ้งเคย จากการประมงในพื้นที่อ่าวไทยตอนบน นำมาจำแนกชนิดและเพศ จากนั้นนำตัวอย่างไปวิเคราะห์หาไมโคร พลาสติกโดยจำแนกสีและนับจำนวนด้วยกล้องจุลทรรศน์สเตอริโอ และนำตัวอย่างบางส่วนไปวิเคราะห์หาชนิด ของไมโครพลาสติกที่ด้วยเทคนิค Fourier-transform infrared spectroscopy (FTIR) ผลการศึกษาพบ ปริมาณของ ไมโครพลาสติกในกุ้งเคย Acetes japonicus เฉลี่ย 0.92±0.11 ชิ้นต่อตัว และกลุ่ม Mysid 1.03 ชิ้นต่อตัว ปริมาณไมโครพลาสติกที่พบใน A. japonicus ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติระหว่างเพศและเดือนที่ ศึกษา ไมโครพลาสติกที่พบใน A. japonicus ส่วนใหญ่มีสีฟ้า (62%) และเขียว (27%) ส่วนที่พบใน Mysid เป็นสีฟ้า (37%) เขียว (18%) และเหลือง (11%) โดยชนิดของไมโครพลาสติกที่พบในกุ้งเคย A. japonicus และกลุ่ม Mysid ส่วนใหญ่เป็น polyamide (77%) ซึ่งเป็นองค์ประกอบของเครื่องมือประมง รองลงมาคือ polyester (15%) ในเสื้อผ้าสิ่งทอ และ polyethylene (8%) ซึ่งใช้ทำบรรจุภัณฑ์ มนุษย์จึงมีความเสี่ยงที่ อาจจะได้รับไมโครพลาสติกเข้าสู่ร่างกายผ่านการกินอาหารที่มีกุ้งเคยเป็นวัตถุดิบ