Abstract:
ป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศชายฝั่งที่มีความสำคัญแก่สิ่งมีชีวิตนานัปการ หลายพื้นที่จึงมีโครงการ ฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลนที่เคยเสื่อมโทรมขึ้นมาอีกครั้งด้วยการปลูกพรรณไม้ชายเลน ซึ่งการประเมินความสำเร็จ ของการฟื้นฟูป่าชายเลนจำเป็นต้องศึกษาสิ่งมีชีวิตกลุ่มอื่นด้วยนอกเหนือจากต้นไม้ที่โตขึ้น ในงานวิจัยนี้เพื่อศึกษา ความหลากหลาย ความหนาแน่น และขนาดของหอยฝาเดียวในแปลงปลูกป่าที่มีอายุแตกต่างกันเพื่อใช้เป็นดัชนีชี้วัด ความสำเร็จในการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลนในพื้นที่ศูนย์ศึ กษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) จังหวัดสมุทรปราการ การเก็บตัวอย่างหอยฝาเดียวโดยใช้ตารางสี่เหลี่ยมนับสัตว์ขนาด 0.5x0.5 เมตร ในแปลงปลูกป่าอายุ 16 11 9 และ 7 ปี ระหว่างเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เดือนละ 1 ครั้ง จำแนกชนิด นับจำนวนและคำนวณความหนาแน่นและดัชนีความหลากหลายของหอย รวมทั้งวัดขนาดของหอยฝาเดียวกลุ่มเด่น 4 ชนิด ผลการศึกษาพบหอย ฝาเดียวที่พบในการศึกษาครั้งนี้มีทั้งสิ้น 12 ชนิด มีความหนาแน่นเฉลี่ยระหว่าง 477.50-124.00 ตัวต่อตารางเมตร มี ความแตกต่างกันระหว่างอายุป่าอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) มีชนิดเด่นคือ Optediceros breviculum มีสัดส่วนร้อย ละ 50.05-81.22 ของหอยฝาเดียวที่พบและมีความหนาแน่นที่ 76.50- 337.50 ตัวต่อตารางเมตร ค่าดัชนีความหลากหลายไม่มีความแตกต่างกันระหว่างอายุป่าอย่างมีนัยสำคัญ การกระจายขนาดความยาวเปลือกของหอยฝาเดียว 4 ชนิดคือ Optediceros breviculum, Neripteron violaceum, Littoraria melanostoma, และ Littoraria scabra พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงไม่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของอายุป่า และความหนาแน่นของหอยฝาเดียวแปรผันตามอุณหภูมิและน้ำหนักแห้งของพืช ความหนาแน่นของหอยชนิด Optediceros breviculum แปรผันตาม อุณหภูมิและความเค็ม รวมถึงดัชนีความหลากหลายแปรผันตามน้ำหนักแห้งและจำนวนซากพืช แต่แปรผกผันกับ ความเค็ม ประชาคมหอยฝาเดียวที่พบในการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลนปลูกในพื้นที่ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู)