DSpace Repository

การศึกษาโครงสร้างประชาคมและขนาดของหอยฝาเดียวในการใช้เป็นดัชนีวัดการฟื้นฟูป่าชายเลน ในพื้นที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) จังหวัดสมุทรปราการ

Show simple item record

dc.contributor.advisor อิชฌิกา ศิวายพราหมณ์
dc.contributor.advisor ศศิธร พ่วงปาน
dc.contributor.author ณัฐสรณ์ พรธรรมรักษ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-09-27T09:36:16Z
dc.date.available 2022-09-27T09:36:16Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80548
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 en_US
dc.description.abstract ป่าชายเลนเป็นระบบนิเวศชายฝั่งที่มีความสำคัญแก่สิ่งมีชีวิตนานัปการ หลายพื้นที่จึงมีโครงการ ฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลนที่เคยเสื่อมโทรมขึ้นมาอีกครั้งด้วยการปลูกพรรณไม้ชายเลน ซึ่งการประเมินความสำเร็จ ของการฟื้นฟูป่าชายเลนจำเป็นต้องศึกษาสิ่งมีชีวิตกลุ่มอื่นด้วยนอกเหนือจากต้นไม้ที่โตขึ้น ในงานวิจัยนี้เพื่อศึกษา ความหลากหลาย ความหนาแน่น และขนาดของหอยฝาเดียวในแปลงปลูกป่าที่มีอายุแตกต่างกันเพื่อใช้เป็นดัชนีชี้วัด ความสำเร็จในการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลนในพื้นที่ศูนย์ศึ กษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) จังหวัดสมุทรปราการ การเก็บตัวอย่างหอยฝาเดียวโดยใช้ตารางสี่เหลี่ยมนับสัตว์ขนาด 0.5x0.5 เมตร ในแปลงปลูกป่าอายุ 16 11 9 และ 7 ปี ระหว่างเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เดือนละ 1 ครั้ง จำแนกชนิด นับจำนวนและคำนวณความหนาแน่นและดัชนีความหลากหลายของหอย รวมทั้งวัดขนาดของหอยฝาเดียวกลุ่มเด่น 4 ชนิด ผลการศึกษาพบหอย ฝาเดียวที่พบในการศึกษาครั้งนี้มีทั้งสิ้น 12 ชนิด มีความหนาแน่นเฉลี่ยระหว่าง 477.50-124.00 ตัวต่อตารางเมตร มี ความแตกต่างกันระหว่างอายุป่าอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) มีชนิดเด่นคือ Optediceros breviculum มีสัดส่วนร้อย ละ 50.05-81.22 ของหอยฝาเดียวที่พบและมีความหนาแน่นที่ 76.50- 337.50 ตัวต่อตารางเมตร ค่าดัชนีความหลากหลายไม่มีความแตกต่างกันระหว่างอายุป่าอย่างมีนัยสำคัญ การกระจายขนาดความยาวเปลือกของหอยฝาเดียว 4 ชนิดคือ Optediceros breviculum, Neripteron violaceum, Littoraria melanostoma, และ Littoraria scabra พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงไม่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของอายุป่า และความหนาแน่นของหอยฝาเดียวแปรผันตามอุณหภูมิและน้ำหนักแห้งของพืช ความหนาแน่นของหอยชนิด Optediceros breviculum แปรผันตาม อุณหภูมิและความเค็ม รวมถึงดัชนีความหลากหลายแปรผันตามน้ำหนักแห้งและจำนวนซากพืช แต่แปรผกผันกับ ความเค็ม ประชาคมหอยฝาเดียวที่พบในการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลนปลูกในพื้นที่ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) en_US
dc.description.abstractalternative Mangrove forest is an important coastal environment for many organisms. To restore degraded mangrove, Rehabilitation program were used in many areas by planting mangrove species and study in other organisms except plants are needed to evaluate the rehabilitation progress. In this study, abundance diversity and size of gastropod macrofauna were compared in different ages mangrove plantations from Bangpu Samutprakan. Samples were collected once a month using 0.5x0.5 meter square quadrat in 16, 11, 9 and 7 years old plantation from September to October 2020 and identified, study abundance, diversity and measure the shell length from 4 common species. The result shows diversity of 12 species ranged from 477.50-124.00 individuals per square meter in density which differed significantly between mangrove ages (p<0.05). Optediceros breviculum is the most dominated species with 50.05-81.22 percent portions and density from 76.50- 337.50 individuals per square meter. Diversity index were not significantly differed between mangrove ages. Size distribution from Optediceros breviculum, Neripteron violaceum, Littoraria melanostoma, and Littoraria scabra had unrelated pattern on different mangrove ages. Gastropod density positively associated with temperature and vegetation biomass, Optediceros breviculum’s density was positively correlated with temperature and salinity. In addition, diversity index was positively correlated with vegetation quantity and biomass but negatively correlated with salinity. The community of gastropod in this study revealed the abundance of mangrove plantation in Bangpu Samutprakan. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject หอยกาบเดียว en_US
dc.subject นิเวศวิทยาป่าชายเลน -- ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) en_US
dc.subject Gastropoda en_US
dc.subject Mangrove ecology -- Bangpu recreation area en_US
dc.title การศึกษาโครงสร้างประชาคมและขนาดของหอยฝาเดียวในการใช้เป็นดัชนีวัดการฟื้นฟูป่าชายเลน ในพื้นที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) จังหวัดสมุทรปราการ en_US
dc.title.alternative Study of community structure and size of gastropod as indicator for mangrove rehabilitation, Bangpu recreation area, Samut Prakan en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record