Abstract:
ความเจริญและการพัฒนาอุตสาหกรรมตามชายฝั่งทะเลก่อให้เกิดการปนเปื้อนปิโตรเลียม ไฮโดรคาร์บอนในน้ำทะเล และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตในทะเล วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อวิเคราะห์หาปริมาณปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนที่ละลายและแพร่กระจายในน้ำทะเล (dissolved and dispersed petroleum hydrocarbons, DDPHs) บริเวณชายฝั่งอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ในช่วงเดือน สิงหาคม 2563 ถึงเดือนมีนาคม 2564 โดยเก็บตัวอย่างทั้งสิ้น 6 ครั้ง สกัด DDPHs ในน้ำทะเลด้วยเฮกเซน (hexane) และวัดปริมาณ DDPHs ด้วยเทคนิคฟลูออเรสเซนต์สเปคโตรสโคปี (fluorescence spectroscopy) โดยเทียบกับสารมาตรฐานไครซีน (chrysene) พบว่าDDPHs ที่ปนเปื้อนในน้ำทะเลเฉลี่ยจาก ทุกสถานีในช่วงเวลา 6 เดือนมีค่า0.885±0.802 (0.095-3.189) μg/L (chrysene equivalent) โดยเดือนที่มี ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ เดือนสิงหาคมมีค่า 1.612±0.475 (0.845-2.379) μg/L (chrysene equivalent) ซึ่ง อาจเป็นเพราะว่าอยู่ในช่วงฤดูฝน น้ำฝนชะคราบน้ำมันจากแผ่นดินลงสู่ทะเล ในขณะที่เดือนที่มีค่าเฉลี่ยน้อย ที่สุด คือ เดือนธันวาคมมีค่า 0.207±0.105 (0.095-0.418) μg/L (chrysene equivalent) ซึ่งเป็นช่วงฤดูแล้ง ทั้งนี้ สถานีที่ 7 ซึ่งอยู่บริเวณท่าเรือขนส่งสินค้า พบว่ามีปริมาณ DDPHs ในบางเดือนสูงกว่าค่ามาตรฐาน คุณภาพน้ำทะเลประเภทที่ 3 (คุณภาพน้ำทะเลเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ) ที่กำหนดไว้ที่ 1 μg/L (chrysene equivalent) อย่างไรก็ดี ค่า DDPHs ที่พบในพื้นที่ศึกษาส่วนใหญ่มีค่าไม่เกินค่ามาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล ประเภทที่ 5 (คุณภาพน้ำทะเลเพื่อการอุตสาหกรรมและท่าเรือ) ที่กำาหนดไว้ไม่เกิน 5 μg/L (chrysene equivalent)