Abstract:
ศึกษาการเปลี่ยนแปลงลักษณะพื้นท้องน้ำบริเวณปากแม่น้ำปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ด้วย แบบจำลองอุทกพลศาสตร์ Delf3D-FLOW ร่วมกับแบบจำลองคลื่น Delf3D-WAVE โดยพิจารณาปัจจัยทาง กายภาพที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะพื้นท้องน้ำจำนวน 4 ปัจจัย ได้แก่ น้ำขึ้นน้ำลง กระแสลม คลื่น และ น้ำท่า แบ่งพื้นที่สำหรับแบบจำลองเป็น 2 พื้นที่ พื้นที่ใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่บริเวณหัวหินถึงเกาะหลัก และ พื้นที่เล็กซึ่งได้จากการทำ nesting จากแบบจำลองพื้นที่ใหญ่จะครอบคลุมพื้นที่ปากแม่น้ำปราณบุรี ขนาดกริด แบบจำลองอุทกพลศาสตร์และแบบจำลองคลื่นสำหรับพื้นที่ใหญ่มีขนาดเท่ากับ 20x20 และ 40x40 ตาราง เมตร ตามลำดับ ส่วนขนาดกริดของพื้นที่เล็กจะมีขนาดเล็กกว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่ใหญ่ ทำการ nesting ระดับ น้ำจากแบบจำลองพื้นที่ใหญ่สู่แบบจำลองพื้นที่เล็ก โดยกำหนดให้แบบจำลองพื้นที่เล็กมีแรงขับที่เกิดจากน้ำขึ้น น้ำลงและคลื่นบริเวณขอบเขตเปิดด้านตะวันออก มีลมเป็นแรงขับที่ผิวน้ำ และมีน้ำท่าเป็นแรงขับที่แม่น้ำปราณบุรี ผลการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงลักษณะพื้นท้องน้ำบริเวณปากแม่น้ำปราณบุรีส่วนใหญ่จะเกิดการ เปลี่ยนแปลงทางตอนใต้ของ Jetties โดยจะมีการพัดพาตะกอนจากบริเวณปาก Jetties มาถับทมในบริเวณ ใกล้ชายฝั่งทางด้านข้าง Jetties ส่วนในบริเวณด้านนอกชายฝั่งจะเกิดการกัดเซาะและการถับทมตัวในบริเวณ ใกล้เคียงกัน สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้อาจเป็นผลมาจากอิทธิพลของคลื่นในช่องมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือที่มีขนาดประมาณ 0.33 เมตร และมีทิศทางการเคลื่อนที่เข้าสู่ชายฝั่ง ในขณะที่ช่วงมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้ขนาดของคลื่นมีค่าต่ำ จึงพบการเคลื่อนที่ของตะกอนน้อย การเปลี่ยนแปลงพื้นท้องน้ำที่ เกิดขึ้นในพื้นที่ปากแม่น้ำปราณบุรีจากการศึกษาด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์นี้ พบว่าได้รับอิทธิพลหลักมา จากลมในช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ คลื่น และน้ำท่า โดยที่มีน้ำขึ้นน้ำลงเป็นอิทธิพลร่วม