dc.contributor.advisor |
สุริยัณห์ สาระมูล |
|
dc.contributor.advisor |
สุจารี บุรีกุล |
|
dc.contributor.author |
ธนาภา เนียมสูงเนิน |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-10-05T02:43:36Z |
|
dc.date.available |
2022-10-05T02:43:36Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80575 |
|
dc.description |
โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 |
en_US |
dc.description.abstract |
ปากแม่น้ำปราณบุรีมีโครงสร้างป้องกันการทับถมตะกอนในแนวร่องน้ำจากอิทธิพลของคลื่น เรียกว่า เขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ (Jetties) ซึ่งเป็นโครงสร้างมีผลต่อทิศทางการเคลื่อนที่ของตะกอนในพื้นที่ ใกล้เคียง ในการศึกษาครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงความลาดชันชายหาด และความลึกพื้น ท้องน้ำ หลังช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ บริเวณตอนใต้ของปากแม่น้ำปราณบุรี โดยทำการออกภาคสนาม 2 ครั้ง ในเดือนกันยายน 2563 (ฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้) และกุมภาพันธ์ 2564 (ฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ) โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ส่วน คือ การวัดระดับของชายหาด (Beach Profile) การวัดความลึกพื้นท้องน้ำ และการหาขนาดของตะกอน จากการศึกษาพบว่าความลาดชันของชายหาดบริเวณใกล้กับเขื่อนกันทรายและ คลื่นปากร่องน้ำมีการกัดเซาะของชายหาดและเริ่มสะสมตัวเมื่อห่างออกไปทางใต้ของชายหาด ซึ่งเกิดจาก อิทธิพลของลมฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่ทำให้กระแสน้ำพัดพาตะกอนจากทางเหนือลงมาทางใต้ สอดคล้องกับการศึกษาขนาดตะกอนโดยเก็บตัวอย่างตะกอนทรายนำมาวิเคราะห์ด้วยวิธี Sieve Grain Size Analysis ที่พบว่าในบริเวณดังกล่าวขนาดตะกอนที่เด่นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.25 มิลลิเมตร ในทั้ง 2 ฤดู แต่ใน ฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือตะกอนมีปริมาณลดลงในบริเวณที่ติดเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ และมี ปริมาณเพิ่มขึ้นห่างจากแนวเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำลงมาทางใต้ของหาด ส่วนผลจากการศึกษา ความลึกพื้นท้องน้ำ (Bathymetry) พบว่าหลังฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พื้นท้องน้ำมีแนวโน้มถูกกัดเซาะ สอดคล้องกับผลการศึกษาการวัดระดับของชายหาด |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
Pranburi River Mouth has a structure to protect the channel from the action of waves and sediments deposition, called jetties, which are structures that influence the sediment transport in the area. The propose of this study was to monitor changes in beach profile and bathymetry after the southwest monsoon season at southern part of Pranburi River Mouth. Two field surveys were conducted in September 2020 (southwest monsoon season) and February 2021 (northeast monsoon season). Beach profile, bathymetry measurement, and sediment sample collecting were carried out for each survey. Based on beach profile measurement, it was found that the slopes of the beach were eroded near jetties and deposited farther south of jetties. This was due to the impact of the northeast monsoon season that caused the current to transport sediment from the north down to the south. This result was consistent with result from grain size study, when sediment samples were collected and analyzed by Sieve Grain Size Analysis. As a result, in this area, the dominant sediment diameter was 0.25 mm. Sediment content was decreased at the vicinity of the jetties and was increased farther away. According to the bathymetry measurement, it was found that post southwest monsoon season water depth was mostly eroded which is in agreement with the result from the beach profile study. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
ตะกอนแม่น้ำ -- แม่น้ำปราณบุรี |
en_US |
dc.subject |
River sediments -- Pranburi River |
en_US |
dc.title |
การเปลี่ยนแปลงความลาดชันชายหาดและพื้นท้องน้ำระหว่างฤดูมรสุม บริเวณตอนใต้ปากแม่น้ำปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ |
en_US |
dc.title.alternative |
Beach Profile and Bathymetric Changes during Monsoon Season in the Southern part of Pranburi River Mouth, Prachuap Khiri Khan |
en_US |
dc.type |
Senior Project |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |