Abstract:
เคยเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่ถูกจับจากธรรมชาติ โดยตาอวนที่มีขนาดเล็กและปริมาณ การจับที่สูง จึงมีโอกาสที่จะจับสัตว์น้ำอื่นปะปนมา โดยการศึกษาในไทยมีการศึกษาที่จำแนกกลุ่มสัตว์น้ำ ขนาดใหญ่ประเภทอื่นที่สามารถจำแนกได้ด้วยตาเปล่าเท่านั้น การศึกษาครั้งนี้จึงศึกษาเพื่อหาองค์ประ กอบและสัดส่วนของสัตว์น้ำขนาดเล็กที่ถูกจับจากการประมงเคยในอ่าวไทยตอนบน ในเดือนกันยายน- พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 โดยเก็บตัวอย่างเคยจากเรือรุนเคยแล้วเก็บรักษาในสารละลายฟอร์มาลินที่ทำให้ เป็นกลางความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์ทันที แบ่งตัวอย่างมา 25 กรัม นำไปส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์ แบบสเตอริโอเพื่อแยกกลุ่ม นับจำนวน และชั่งน้ำหนักสัตว์น้ำที่แยกได้ สัตว์น้ำขนาดเล็กที่จำแนกได้ ประกอบด้วย กลุ่มเคยหยาบ Acetes spp. เคยสำลี Lucifer sp. Hydromedusae เคยตาดำกลุ่ม mysid ลูกกุ้ง ลูกปู ลูกกั้ง และลูกปลา ในเชิงปริมาณกลุ่มเคย Acetes spp. Lucifer sp. และกลุ่ม Hydromedusae เป็นสัตว์น้ำกลุ่มเดินที่มีสัดส่วนแตกต่างกันในแต่ละเดือน โดยในเดือนกันยายน Hydromedusae มีสัดส่วนสูงที่สุด (ร้อยละ 53.10) รองลงมาคือ Acetes spp. (ร้อยละ 39.08) และ Lucifer sp. (ร้อยละ 7.54) เดือนตุลาคม Lucifer sp. มีสัดส่วนสูงที่สุด (ร้อยละ 82.89) รองลงมาคือ Acetes spp. (ร้อยละ 10.15) และ Hydromedusae (ร้อยละ 6.32) ส่วนเดือนพฤศจิกายน Acetes spp. มีสัดส่วนสูง ที่สุด (ร้อยละ 73.29) รองลงมาคือ Lucifer sp. (ร้อยละ 20.84) และ Hydromedusae (ร้อยละ 3.21) แต่ในเชิงน้ำหนัก Acetes spp. มีสัดส่วนสูงที่สุดทุกเดือน (คิดเป็นร้อยละ 52.27- 95.72 ของน้ำหนัก ทั้งหมด) สำหรับกลุ่มสัตว์น้ำอื่น ๆ ได้แก่ mysid ลูกกุ้ง ลูกปู ลูกกั้ง และลูกปลา ซึ่งอาจรวมชนิดที่เป็นลูก สัตว์น้ำเศรษฐกิจมีสัดส่วนเชิงปริมาณและเชิงน้ำหนักรวมกันเพียงร้อยละ 0.27-2.66 ของปริมาณทั้งหมด และ 0.79-4.53 ของน้ำหนักทั้งหมดเท่านั้น องค์ประกอบของสัตว์น้ำขนาดเล็กในเชิงปริมาณมีความ แตกต่างในทุกเดือน แต่ในเชิงน้ำหนัก Acetes spp. ซึ่งเป็นสัตว์กลุ่มเป้าหมายของการทำประมงมีสัดส่วน ที่สูงที่สุดในทุกเดือน ในขณะที่กลุ่มสัตว์น้ำที่อาจจะรวมชนิดที่เป็นลูกสัตว์น้ำเศรษฐกิจมีสัดส่วนที่น้อย ข้อมูลที่ได้เป็นประโยชน์ในการวางแผนการจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำของประเทศต่อไป