DSpace Repository

การออกแบบระบบตรวจวัด PM2.5 ด้วยระบบสมองกลฝังตัว

Show simple item record

dc.contributor.advisor ต้นพงศ์ แก้วคงคา
dc.contributor.author ศุภณัฐ ฤทัยแช่มชื่น
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-10-07T08:31:03Z
dc.date.available 2022-10-07T08:31:03Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80614
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาฟิสิกส์. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 en_US
dc.description.abstract โครงงานนี้มีจุดประสงค์เพื่อออกแบบระบบตรวจวัด PM2.5 ด้วยระบบสมองกลฝังตัว โดยโครงงานนี้ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 ซึ่งมีคุณสมบัติที่สามารถเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไร้สาย (Wireless LAN หรือ Wi-Fi) มาเชื่อมต่อกับตัวรับรู้ปริมาณฝุ่นละออง (PMS7003) ตัวรับรู้ความชื้นสัมพัทธ์และอุณหภูมิ (DHT22) และตัวรับรู้ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (MQ-135) ภายในระบบตรวจวัด PM2.5 ด้วยระบบสมองกลฝังตัวมีการจัดเก็บข้อมูลไว้ใน MySQL ซึ่งเป็นระบบจัดการฐานข้อมูล โดยสถานที่ที่ได้ทำการเก็บข้อมูลมีทั้งหมด 4 สถานที่ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ และสระน้ำของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการทำเว็บไซต์ เพื่อใช้ในการเฝ้าระวังปริมาณ PM 2.5 ได้หลาย ๆ สถานที่ในหน้าเว็บไซต์เดียวกันและยังช่วยให้รู้ค่าปริมาณสูงสุดของฝุ่นละอองได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้คำสั่งของภาษาJavaScript ทำให้เมื่อลากเคอร์เซอร์เมาส์ไปยังบริเวณที่ต้องการให้ปรากฏค่าสูงสุดและต่ำสุดของปริมาณ PM2.5 ณ บริเวณที่มีเครื่องวัดติดตั้งไว้ ทำให้สะดวกและง่ายต่อการติดตามค่าปริมาณฝุ่นละอองในหน้าเว็บไซต์เดียว ในส่วนของหน้าเว็บยังใช้ภาษา HTML เพื่อที่จะสามารถคลิกเข้าไปดูข้อมูลค่าฝุ่นละออง ณ เวลาต่าง ๆ ได้อย่างละเอียดในบริเวณที่สนใจได้อีกด้วย อีกทั้งยังส่งข้อมูลของปริมาณฝุ่นละอองในอากาศ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไปแสดงค่าได้แบบ Real time ผ่านทางหน้าเว็บไซต์ของ NETPIE นอกจากนี้ยังมีการกำหนดเงื่อนไขเมื่อปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 เกินกว่า 50 ug/m³ ให้ส่งข้อความแจ้งเตือนพร้อมทั้งระบุปริมาณฝุ่นละอองที่เกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้ไปยัง LINE Notify เพื่อป้องกันอันตรายจากมลพิษทางอากาศได้ทันท่วงที en_US
dc.description.abstractalternative This project proposes the design of PM2.5 detector with embedded system. In this project, using ESP32 microcontroller that can connect wirelessly to dust sensor (PMS7003), gas sensor (MQ-135) and relative humidity and temperature sensor (DHT22). The PM2.5 monitoring system consists of embedded system and data storage in MySQL which is a database management system. Measurements of collected data are performed in 4 different areas where are faculty of Science, faculty of Engineering, faculty of Arts and the pond of Chulalongkorn University. The collected data are used for generating website in order to monitor the amount of PM 2.5 in many places on the same website and show the maximum and minimum amount of dust. For easy tracking the amount of dust on single web page, using the command of the JavaScript language to appear the maximum and minimum values of PM2.5 by moving mouse cursor to the desired area and also using HTML in order to view the dust values at different times in the area of interest. The system is also capable of sending the collected data in order to display information about the amount of dust in the air, temperature, relative humidity and the amount of carbon dioxide in real time via the NETPIE website. In addition, the proposed system is programmed to indicate warning condition when the values of the PM2.5 exceed 50 ug/m³ to send notification messages to LINE Notify for prevent dangers from air pollution in time. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ฝุ่น -- การวัด en_US
dc.subject ไมโครคอนโทรลเลอร์ en_US
dc.subject Dust -- Measurement en_US
dc.subject Microcontrollers en_US
dc.title การออกแบบระบบตรวจวัด PM2.5 ด้วยระบบสมองกลฝังตัว en_US
dc.title.alternative Designing of PM2.5 detector with embedded system en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record