DSpace Repository

การศึกษาปัจจัยที่เหมาะสมในการสังเคราะห์อนุภาคทองนาโนด้วยวิธีการทางชีวภาพ

Show simple item record

dc.contributor.advisor สริสา ณ ป้อมเพ็ชร์
dc.contributor.author วิธิดา จันยะมิตรี
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-10-10T01:56:52Z
dc.date.available 2022-10-10T01:56:52Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80620
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2563 en_US
dc.description.abstract การสังเคราะห์อนุภาคทองนาโน (gold nanoparticleAuNP) ด้วยวิธีการทางชีวภาพเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบันเนื่องจากเป็นวิธีการที่คุ้มค่า เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และไม่มีความเป็นพิษ ซึ่งในกระบวนการสังเคราะห์นั้นพารามิเตอร์ของปฏิกิริยาทางเคมีฟิสิกส์มีอิทธิพลอย่างมากกับรูปร่างและขนาดของอนุภาคทองนาโนที่สังเคราะห์ได้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์อนุภาคทองนาโนจากเชื้อรา Aspergillus niger MSCU 0361 และศึกษาพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสังเคราะห์ โดยเชื้อรา A. niger MSCU 0361สามารถสังเคราะห์อนุภาคทองนาโนได้เมื่อถูกเติมด้วยกรดเตตระคลอโรออริก (HAuCl₄) การเพิ่มประสิทธิภาพการสังเคราะห์อนุภาคทองนาโนให้ได้ปริมาณสูงสุดทำได้โดยใช้ชีวมวลเชื้อรา (fungal biomass) 30 กรัม ความเข้มข้นของกรดเตตระคลอโรออริก (HAuCl₄) 0.02 โมลาร์ในสารละลายอะซิเตทบัฟเฟอร์ (acetate buffer) pH 4.70 และบ่มปฏิกิริยาที่อุณหภูมิห้อง จากการศึกษาด้วย UV-Vis spectrophotometer พบการดูดกลืนแสงของอนุภาคทองนาโนที่ช่วงความยาวคลื่น 530-570 นาโนเมตร ซึ่งเป็นผลมาจากคุณสมบัติการดูดกลืนแสงที่จำเพาะของอนุภาคทองนาโน และจากการวิเคราะห์ลักษณะ รูปร่าง และการกระจายตัวของอนุภาคทองนาโนด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (TEM) พบว่าอนุภาคทองนาโนที่สังเคราะห์ได้มีการกระจายตัวแบบโพลีดิสเพอร์ส (polydisperse distribution) ด้วยรูปร่างที่แตกต่างกัน เช่น ทรงกลม สามเหลี่ยม หลายเหลี่ยม และรูปร่างไม่แน่นอน และเมื่อวิเคราะห์ขนาดของอนุภาคทองนาโนด้วยวิธี dynamic light scattering (DLS) พบว่าอนุภาคทองนาโนที่สังเคราะห์ได้มีขนาดเฉลี่ยเท่ากับ 35.37 นาโนเมตร นอกจากขนาดแล้วการวิเคราะห์ด้วยวิธี DLS ยังสามารถบอกการกระจายตัวของอนุภาคทองนาโนได้จากค่า polydispersity index (PDI) พบว่ามีค่าเท่ากับ 0.655 ซึ่งสามารถบอกได้ว่าอนุภาคทองนาโนที่สังเคราะห์ได้มีการกระจายตัวไม่สม่ำเสมอ ส่วนผลของการวิเคราะห์ค่าศักย์ซีต้า (zeta potential) พบว่าอนุภาคทองนาโนที่สังเคราะห์ได้มีค่าศักย์ซีต้าเท่ากับ-17.5 มิลลิโวลต์ จากงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าเชื้อราA. niger MSCU 0361 สามารถสังเคราะห์อนุภาคทองนาโนได้ผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพด้วยการปรับเปลี่ยนพารามิเตอร์ของปฏิกิริยาทางเคมีฟิสิกส์ อย่างไรก็ตามเนื่องจากในปัจจุบันยังไม่ทราบถึงกลไกที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์อนุภาคทองนาโนที่แน่ชัดจึงอาจจะมีปัจจัยอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาและทดลองเพิ่มเติมเพื่อให้ได้เงื่อนไขการสังเคราะห์ที่เหมาะสมที่สุดต่อไป en_US
dc.description.abstractalternative Biosynthesis of gold nanoparticles (AuNPs) is environmental friendly, non-toxic, and costeffective. In the biosynthetic process, parameters of the physicochemical reaction greatly influenced with respect to shape and size. Thus, in this study, we aimed to biosynthesize AuNPs using Aspergillus niger MSCU 0361 and optimize{u1001F0}the parameters related to the biosynthesis. This fungus was able to synthesize AuNPs when challenged with tetra-chloroauric acid (HAuCl₄). The optimal condition for AuNP synthesis was 30 g of fungal biomass, 0.02 M of HAuCl₄ in acetate buffer solution pH 4.70, and room temperature incubation. The UV-vis spectra of AuNPs showed unique optical characteristics at 530-570 nm, and the transmission electron microscopy (TEM) images revealed that the AuNPs were found to be polydispersed with different shapes such as spherical, triangular, polygonal, and uncertain shapes. The hydrodynamic diameter and the size distribution of AuNPs were observed by dynamic light scattering (DLS) technique. The average size measured by DLS was 35.37 nm. In addition, DLS analysis was able to determine the distribution of AuNPs reported as polydispersity index (PDI), which showed the PDI value of 0.655. The zeta potential measurement of AuNPs was -17.5 mV. In summary, this research demonstrated that A. niger MSCU 0361 could synthesize AuNPs through optimization and modification of the physicochemical parameters of the reaction. However, the mechanism for the biosynthesis of AuNPs is unclear, and it may also involve with other relevant factors. Therefore, further studies are needed to obtain optimal biosynthetic conditions. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject อนุภาคนาโน -- การสังเคราะห์ en_US
dc.subject ทอง en_US
dc.subject Nanoparticles -- Synthesis en_US
dc.subject Gold en_US
dc.title การศึกษาปัจจัยที่เหมาะสมในการสังเคราะห์อนุภาคทองนาโนด้วยวิธีการทางชีวภาพ en_US
dc.title.alternative The study of optimal conditions for biosynthesis of gold nanoparticles en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record