DSpace Repository

การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลัง กรณีศึกษา บริษัท ABC

Show simple item record

dc.contributor.advisor พงศา พรชัยวิเศษกุล
dc.contributor.author ชาธินี ศรีงาม
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned 2022-10-12T08:59:03Z
dc.date.available 2022-10-12T08:59:03Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80649
dc.description สารนิพนธ์ (วท.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและปรับปรุงรูปแบบการสั่งซื้อสินค้าในปริมาณที่เหมาะสม โดยนำเทคนิคการพยากรณ์เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล และเพื่อช่วยลดต้นทุนสินค้าที่เกิดจากการบริหารสินค้าคงคลัง จากการศึกษาพบว่าบรืษัทกรณีศึกษายังไม่มีระบบจัดการสินค้าคงคลังที่เหมาะสม และไม่มีมาตราการกำหนดปริมาณการสั่งซื้อสินค้าที่เหมาะสม ปัจจุบันอาศัยเพียงประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเฉพาะตัวในการกำหนด ทำให้บริษัทประสบปัญหาปริมาณสินค้าคงคลังมากเกินความต้องการ (Over Stock) ส่งผลให้มีต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าที่สูง ผู้วิจัยรวบรวมและนำข้อมูลยอดขายสินค้า ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2561 - เดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 มาวิเคราะห์หาระดับความสำคัญของสินค้าแต่ละชนิดโดยใช้วิธีการแบ่งกลุ่มสินค้าแบบ ABC Classification พบว่า กลุ่ม A มีสินค้าจำนวน 7 รายการ มูลค่ารวมคิดเป็น 73.11 % ของยอดขายสินค้าทั้งหมด มูลค่าเท่ากับ 19,613,390.00 บาท จากนั้นเลือกใช้วิธีการพยากรณ์ด้วยเทคนิคอนุกรมเวลา (Time Series Forecasting) แบบมีฤดูกาลจำนวน 3 วิธี ซึ่งประกอบด้วย การพยากรณ์ข้อมูลที่มีอิทธิพลของฤดูกาลเพียงอย่างเดียว (Simple Seasonal Exponential Smoothing method), การพยากรณ์ข้อมูลที่มีอิทธิพลของฤดูกาลและแนวโน้มเชิงบวก (Holt-Winters’ Additive Seasonal Smoothing Method) และการพยากรณ์ข้อมูลที่มีอิทธิพลของฤดูกาลและแนวโน้มเชิงคูณ (Holt-Winters' Multiplication Seasonal Smoothing Method) มาวิเคราะห์และพยากรณ์ความต้องการสินค้าในอนาคต หลังจากนั้น คำนวณหาปริมาณการสั่งซื้ออย่างประหยัด (EOQ) จุดสั่งซื้อใหม่ (ROP) และต้นทุนรวมสินค้าคงคลังที่ต่ำที่สุด ผลการวิจัยพบว่า การสั่งซื้อรูปแบบที่นำเสนอสามารถช่วยลดต้นทุนรวมสินค้าคงคลังของบริษัทกรณีศึกษา ได้เท่ากับ 1,220,824.64 บาท หรือเท่ากับ 44% เมื่อเทียบกับนโยบายปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่าการสั่งซื้อในรูปแบบใหม่ที่นำเสนอช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุนสินค้าของบริษัทกรณีศึกษาได้ดียิ่งขึ้น en_US
dc.description.abstractalternative The purpose of this independent study is to forecast future demand using historical product sales data and propose the optimal purchasing policy to reduce total inventory cost. The current problematic of the case study company is they did not have an appropriate inventory management and their purchasing policy was relied only on executive experiences, which mostly led company encountered Over-stock inventory problem, thus resulted in higher inventory carrying costs. The study applied ABC Classification to classify product into groups and product in group A has been chosen to analyze historical Sales data in year 2018-2020. The study also utilized Time Series forecasting method which are Moving Average method, naïve approach, Simple Seasonal Exponential Smoothing method, Holt-Winters' Additive Seasonal Smoothing Method and Holt-Winters' Multiplication Seasonal Smoothing Method to forecast demand in the next 12 months. The demand from the forecasting method which has the lowest Mean Absolute Percent Error (MAPE) are selected. The economic order quantity (EOQ), safety stock and reorder point (ROP) calculation are determined and proposed. The results of current policy and optimal policy measurement revealed that the total inventory cost of proposed policy reduces at 1,220,824.64 or 44% reduction from 2,772,437.64 baht to 1,551,613.00 baht. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.242
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การควบคุมสินค้าคงคลัง en_US
dc.subject Inventory control en_US
dc.title การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลัง กรณีศึกษา บริษัท ABC en_US
dc.title.alternative Increasing efficiency of inventory management case study of ABC company en_US
dc.type Independent Study en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา) en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2020.242


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Grad - Independent Studies [269]
    สารนิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record