DSpace Repository

การปรับปรุงนโยบายการสั่งซื้อชิ้นส่วนอะไหล่ กรณีศึกษาบริษัทจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปวีณา เชาวลิตวงศ์
dc.contributor.author ฐิติวัลคุ์ เอื้อวรธรรม
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned 2022-10-26T08:42:00Z
dc.date.available 2022-10-26T08:42:00Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80696
dc.description สารนิพนธ์ (วท.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 en_US
dc.description.abstract สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอนโยบายพัสดุคงคลังที่สามารถลดจำนวนอะไหล่ขาดมือจากการสั่งซื้อชิ้นส่วนอะไหล่เครื่องใช้ไฟฟ้าของบริษัทกรณีศึกษา ซึ่งเป็นบริษัทที่มีการจำหน่ายชิ้นส่วนอะไหล่ให้กับลูกค้าในสองช่องทาง คือ งานซ่อมของช่างซ่อมที่มีความต้องการชิ้นส่วนอะไหล่สำหรับงานซ่อมแซม บำรุงรักษา ทดแทนอะไหล่ของเครื่องใช้ไฟฟ้า และลูกค้าที่มีความต้องการมาซื้อชิ้นส่วนอะไหล่เพื่อการบำรุงรักษาโดยตรงที่สำนักงานใหญ่ของบริษัท รายการชิ้นส่วนอะไหล่ที่ศึกษามี 5 รายการซึ่งเป็นรายการที่มีความต้องการไม่แน่นอนจากลูกค้าและบริษัทต้องการให้มีอัตราการเติมเต็มพัสดุคงคลังอะไหล่ที่สามารถรองรับความต้องการไม่แน่นอนของลูกค้าได้ แต่ในปัจจุบันพบว่า บริษัทมีอัตราการเติมเต็มพัสดุคงคลังอะไหล่เพียง 48% งานวิจัยเริ่มต้นจากการศึกษานโยบายการสั่งซื้อของบริษัทเพื่อวิเคราะห์ปัญหาของนโยบายในปัจจุบัน และเก็บรวบรวมข้อมูลความต้องการของชิ้นส่วนอะไหล่ในอดีต เพื่อศึกษาการกระจายตัวของข้อมูลความต้องการ จากนั้นนำเสนอนโยบายที่พิจารณาการกระจายตัวของข้อมูลความต้องการอะไหล่ ร่วมกับระยะเวลานำที่ไม่คงที่จากซัพพลายเออร์ จากนั้นจึงนำเสนอนโยบายระดับคงคลังเป้าหมาย (Order-up-to-level Model หรือ OUL) ที่มีการกำหนดรอบการสั่งคงที่และสั่งซื้อให้ถึงระดับ OUL ซึ่งเป็นระดับที่เพียงพอต่อการตอบสนองความต้องการในแต่ละรอบการสั่งตามระดับการให้บริการที่กำหนด นโยบายระดับคงคลังเป้าหมายที่นำเสนอ ได้ถูกนำไปจำลองการสั่งซื้อในโปรแกรม Microsoft Excel เพื่อทดสอบการสั่งซื้อชิ้นส่วนอะไหล่ทั้ง 5 รายการ พบว่านโยบายที่นำเสนอสามารถเพิ่มอัตราการเติมเต็มพัสดุคงคลังอะไหล่ได้ 100% ทั้ง 5 รายการ และมีมูลค่าพัสดุคงคลังลดลง 34% en_US
dc.description.abstractalternative This research aims to propose an inventory policy which can reduce backlog level for purchasing spare parts of electrical appliance. The company distribution channels of spare part are for after sale services and walk-in customers. In this research, five items of spare parts with uncertain demands are studied. The company want to increase fill rate of spare part that can support uncertain demand from customer. At the present, company has fill rate of spare part only 48%. The research is started from collecting data of ordering process to analyze the inventory policy problem, and data of demand history to study the distribution of demand. Inventory policy is proposed by distribution of demand analysis, uncertainty of lead time from suppliers. Then, order-up-to-level model (OUL) is proposed for inventory policy which are fixed ordering cycle time and order quantity to meet the OUL level that is a sufficient level to support the demand in each order cycle time based on specific service level. The proposal of order-up-to-level model was simulated in Microsoft Excel to test inventory policy of 5 items. The results show that the propose policy can increase fill rate to 100% and reduce the inventory value by 34%. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.243
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การจัดการคลังสินค้า en_US
dc.subject คลังพัสดุ en_US
dc.subject การควบคุมสินค้าคงคลัง en_US
dc.subject การจัดการวัสดุ en_US
dc.subject การวางแผนความต้องการวัสดุ en_US
dc.subject Warehouses -- Management en_US
dc.subject Materials management en_US
dc.subject Inventory control en_US
dc.subject Material requirements planning en_US
dc.title การปรับปรุงนโยบายการสั่งซื้อชิ้นส่วนอะไหล่ กรณีศึกษาบริษัทจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า en_US
dc.title.alternative Improvement of Inventory Policy for Purchasing Spare Parts: A case study of Electrical Appliance Company en_US
dc.type Independent Study en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา) en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2021.243


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Grad - Independent Studies [269]
    สารนิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record