DSpace Repository

การวิเคราะห์การนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องสำอางทางบก เส้นทางสิงคโปร์-ไทย ผ่านด่านสะเดา จังหวัดสงขลา : กรณีศึกษาบริษัท ABC

Show simple item record

dc.contributor.advisor ระหัตร โรจนประดิษฐ์
dc.contributor.advisor พรรณี ชีวินศิริวัฒน์
dc.contributor.author พรรทิตา รัตนจีนะ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned 2022-10-27T06:10:24Z
dc.date.available 2022-10-27T06:10:24Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80709
dc.description สารนิพนธ์ (วท.ท.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 en_US
dc.description.abstract จากวิกฤติการขนส่งสินค้าทางเรือที่เกิดขึ้นทั่วโลกในปัจจุบันภายหลังจากการแพร่ ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ทำให้ขั้นตอนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าทั้งหมดล่าช้า และค่าระวางเรือที่สูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบให้การขนส่งสินค้าล่าช้าและต้นทุนการขนส่งเพิ่มมากขึ้น ทำให้บริษัทกรณีศึกษาสนใจการขนส่งทางบก เนื่องจากมีความรวดเร็ว ตารางการเดินรถที่ยืดหยุ่นกว่าการขนส่งทางเรือที่ทางบริษัทใช้ในการขนส่งปัจจุบัน เพื่อช่วยให้บริษัทมีทางเลือกในการขนส่งเครื่องสำอางที่มีประสิทธิภาพและใช้ระยะเวลาในการนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องสำอางจากศูนย์กระจายสินค้าของบริษัทที่ประเทศสิงคโปร์ สั้นลงกว่าปัจจุบันและส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าในประเทศไทยได้ตรงตามแผนที่วางไว้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการนำเข้าเครื่องสำอางทางบกจากประเทศสิงคโปร์ด้วยวิธีการขนส่งที่มีประสิทธิภาพและศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลการขนส่งในมิติด้านเวลา และ ต้นทุนกับการขนส่งทางเรือที่บริษัท ABC ใช้อยู่ในปัจจุบันเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ของบริษัท ABC ในการนำเข้าเครื่องสำอางจากศูนย์กระจายสินค้าบริษัทที่ประเทศสิงคโปร์โดยใช้ระบบ สารสนเทศภูมิศาสตร์ ผ่านโปรแกรม ArcGIS Pro 2.6.1 และการวิเคราะห์โครงข่าย (Network Analysis) เป็นเครื่องมือหลักในการทำวิจัยควบคู่กับเส้นทางสิงคโปร์ - มาเลเซีย – ด่านสะเดา จังหวัดสงขลาจาก Google Map ผลการวิจัยพบว่าการขนส่งทางบกมีระยะเวลาการนำเข้าเครื่องสำอางสั้นกว่าทางเรือ 6 วัน และมีค่าใช้จ่ายในการขนส่งที่ใกล้เคียงกับต้นทุนที่บริษัท ABC เสียอยู่ในปัจจุบัน en_US
dc.description.abstractalternative The impact of Covid-19 on global shipping-container crisis has delayed all shipping related procedures and higher freight rates. This affects the delay in the delivery of goods and increases the cost of transportation of ABC company. Therefore, the company requires to proactively explore other transportation mode and interested in land transportation because it is short lead time, and the schedule of truck cross border is more flexible’s schedule than vessel schedule via sea mode that company using for importing cosmetics from distribution center in Singapore recently. This research aims to analysis land transportation for importing cosmetic products from distribution center in Singapore to Thailand via Sa-Dao customs station by using geographic information systems (GIS) based on network analysis and comparing transportation cost and lead time between land and sea transportation’s mode. The proposed route from Sa-Dao customs station to ABC’s distribution center in Samut Prakarn province were analyzed by GIS, while route of Singapore – Malaysia – Sa-Dao, Songkhla province will obtained from the Google Map. The result show that the saving lead time of import shipment by truck is 6 days shorter than ocean mode with competitive cost compared to current transportation cost of ABC company. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2021.253
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject เครื่องสำอาง -- การนำเข้า en_US
dc.subject การขนส่งทางบก en_US
dc.subject การขนส่งสินค้า en_US
dc.subject Commercial products -- Transportation en_US
dc.subject Transportation, Automotive en_US
dc.title การวิเคราะห์การนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องสำอางทางบก เส้นทางสิงคโปร์-ไทย ผ่านด่านสะเดา จังหวัดสงขลา : กรณีศึกษาบริษัท ABC en_US
dc.title.alternative Import of cosmetics products by land on the Singapore- Thai route via Sa-Dao customs station, Songkhla province: a case study of ABC company en_US
dc.type Independent Study en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา) en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2021.253


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Grad - Independent Studies [269]
    สารนิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป

Show simple item record