dc.contributor.advisor |
สุรีย์ ชุณหเรืองเดช |
|
dc.contributor.author |
พิชชาวีร์ กิจประภาศิริ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-11-02T02:07:24Z |
|
dc.date.available |
2022-11-02T02:07:24Z |
|
dc.date.issued |
2564 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80728 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (อ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
en_US |
dc.description.abstract |
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความหมายและบริบทการใช้คำกริยา 打dǎ ในภาษาจีน และคำกริยา “ตี” ในภาษาไทย ซึ่งต่างเป็นคำที่มีหลายความหมายและถือว่าอยู่ภายใต้ มโนทัศน์เดียวกัน เพื่อเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างระหว่างความหมายต้นแบบที่เป็นวงความหมายต้นทางของคำกริยา 打dǎ ที่สัมพันธ์กับความหมายอื่นๆ ในภาษาจีน กับความหมายต้นแบบที่เป็นวงความหมายต้นทางของคำกริยา “ตี” ที่สัมพันธ์กับความหมายอื่นในภาษาไทย ผลการวิจัยพบว่า ความหมายต้นแบบ “ตี ทุบ เคาะ ตบ ฯลฯ” ที่เป็นวงความหมายต้นทางของคำกริยาทั้งสอง จะประกอบด้วยคุณสมบัติสามประการ ได้แก่ 1) ใช้มือหรืออุปกรณ์ในมือกระทำเป้าหมาย 2) มีทิศทางการออกแรงทิศทางเดียว และ 3) มีการกระทบหรือปะทะกันระหว่างสองสิ่ง นอกจากนี้ยังมีการขยายวงความหมายไปสู่ความหมายอื่นๆ รวม 12 กลุ่มในลักษณะที่ใกล้เคียงกันมาก โดยความหมายที่ขยายออกมาจากวงความหมายต้นทางส่วนใหญ่ยังคงมีคุณสมบัติของความหมายต้นแบบสามประการ เพียงแต่อาจมากน้อยต่างกันไป ในความเห็นของผู้วิจัย อาจสามารถแบ่งกลุ่มความสัมพันธ์ระหว่างความหมายต้นแบบกับวงความหมายอื่นๆ ของคำกริยา 打dǎ ในภาษาจีนและความสัมพันธ์ระหว่างความหมายต้นแบบกับวงความหมายอื่นๆ ของคำกริยา “ตี” ในภาษาไทยออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ 1) กลุ่มที่ความสัมพันธ์ระหว่างความหมายต้นแบบกับวงความหมายอื่นๆ คล้ายคลึงกันมาก และ 2) กลุ่มที่ความสัมพันธ์ระหว่างความหมายต้นแบบกับวงความหมายอื่นๆ คล้ายคลึงกันปานกลาง |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this study is to analyze the meaning and context of the verb打dǎ in Chinese and the verb “ti” in Thai, both of which are polysemous words and considered to fall under the same concept, in order to compare and contrast the source domain prototype meaning and other related meanings of the verb打dǎ and the source domain prototype meaning and other related meanings of the verb “ti”. The result finds that the source domain prototype meaning “hit, pound, knock, slap, etc.” of the two verbs consists of three properties: 1) the use of the hand or device in the hand to act on the target, 2) one single direction of exertion, and 3) an impact or collision between two entities. Moreover, the way in which the source domain prototype meaning of the two verbs extending to other domains are quite similar, with a total of 12 different domains including itself. In most cases, the meanings extending from the source domain still retain the above three properties, but might vary in degree. In the researcher’s view, the relationship between the source domain prototype meaning and the different meanings in other domains of both verbs 打dǎ and “ti” might be further divided into 2 groups, namely, 1) the group with high similarity and 2) the group with moderate similarity. |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.793 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
ภาษาไทย -- สำนวนโวหาร |
|
dc.subject |
ภาษาไทย -- คำกริยา |
|
dc.subject |
ภาษาจีน -- สำนวนโวหาร |
|
dc.subject |
ภาษาจีน -- คำกริยา |
|
dc.subject |
Thai language -- Idioms |
|
dc.subject |
Thai language -- Verb |
|
dc.subject |
Chinese language -- Idioms |
|
dc.subject |
Chinese language -- Verb |
|
dc.title |
การศึกษาเปรียบเทียบศัพท์และสำนวนจีนที่มีค่า “DA” กับ ศัพท์และสำนวนไทยในลักษณะเดียวกันที่มีค่า “ตี” |
en_US |
dc.title.alternative |
A comparative study of Chinese words and expressions containing the term "DA" with their Thai equivalents containing the term "TI" |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
ภาษาจีน |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2021.793 |
|