DSpace Repository

การประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อการถอดปริมาณและจัดการวัสดุผนังอิฐก่อ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธนิต ธงทอง
dc.contributor.author เมธาสิทธิ์ จันทร์พิทักษ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-11-02T09:44:10Z
dc.date.available 2022-11-02T09:44:10Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80791
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract ผนังอิฐก่อเป็นการก่อสร้างที่เป็นที่นิยมในการก่อสร้างอาคาร ในการถอดปริมาณวัสดุก่อผนังมักจะใช้การประมาณวัสดุเป็นอัตราส่วนจากพื้นที่ผนัง ซึ่งมักจะไม่มีรูปแบบที่มีรายละเอียดข้อมูลชิ้นส่วนที่ละเอียดเพียงพอ และยังมีผลต่อการถอดปริมาณที่มักจะถอดปริมาณได้ไม่ตรงกับความเป็นจริงเนื่องจากผนังแต่ละผืนมีลักษณะแตกต่างกันไป ส่งผลให้การก่อสร้างที่ได้อาจไม่เป็นไปตามมาตรฐาน เช่น ไม่มีการเสริมเสาเอ็นหรือคานทับหลังในตำแหน่งที่ควรทำ ขนาดหรือระยะของเสาเอ็นและคานทับหลังไม่เป็นตามมาตรฐานงานก่อสร้าง ต้องมีการแก้ไขงานก่อสร้างและทำให้เกิดขยะ ซึ่งเป็นผลต่อการก่อสร้างทั้งด้านคุณภาพ เวลา และงบประมาณ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการใช้งานแบบจำลองสารสนเทศอาคารโดยใช้การคำนวณจากข้อมูล BIM เพื่อถอดปริมาณและสร้างข้อมูลรายละเอียดการก่อสร้างชิ้นส่วนเสาเอ็น คานทับหลัง และอิฐในผนังอิฐก่อ โดยงานวิจัยใช้โปรแกรม Dynamo ผ่านโปรแกรม Autodesk Revit ในการสร้างวิธีการคำนวณและชุดคำสั่งเพื่อคำนวณตำแหน่ง ความยาว และปริมาณของชิ้นส่วนเสาเอ็น คานทับหลัง และอิฐ ผลการวิเคราะห์พบว่าใช้เวลาในการถอดปริมาณน้อยและสามารถให้แสดงผลในรูปแบบสามมิติได้ ซึ่งช่วยเสริมในการมองเห็นรายละเอียดตำแหน่งและความยาวของชิ้นส่วนเสาเอ็น คานทับหลัง และอิฐแต่ละชิ้นได้ สามารถนำข้อมูลของชิ้นส่วนแต่ละชิ้นไปช่วยในการวางแผนการก่อสร้างต่อไป
dc.description.abstractalternative Brick walls are common in building construction. A ratio of material quantity and wall area is a common method employed to estimate the quantity of materials used in brick wall construction. This method, which may not include enough detail for brick wall construction, can lead to the miscalculation of quantity takeoff because walls have different patterns. As a result, less information can affect construction quality such as no lintel in proper location, incorrect size and length of lintel, and wrong position and arrangement of bricks and supporting structures. It also generates construction waste by discarding the residual cutting bricks. All of these can impact the construction quality, time, and cost. Therefore, the purpose of this research is to present a system and guideline for utilizing Building Information Modeling (BIM) data to generate brick wall component information. The Dynamo is used in conjunction with Autodesk Revit to create a set of computation instructions for wall assembly, position, length, and quantity of wall components. The results revealed that less time and more accuracy in the calculation are obtained. Because the system can show in 3D presentation, it enhances the visibility of the wall assembly, position, and length details. The quantity and length of each item can be estimated to provide information for further construction planning and management.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.911
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Engineering
dc.title การประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารเพื่อการถอดปริมาณและจัดการวัสดุผนังอิฐก่อ
dc.title.alternative An application of building information modeling for quantity takeoff and material management of brick walls
dc.type Thesis
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิศวกรรมโยธา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2021.911


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record