dc.contributor.advisor |
อุรา ปานเจริญ |
|
dc.contributor.author |
วิลาวรรณ ใจหาญ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-11-02T09:44:17Z |
|
dc.date.available |
2022-11-02T09:44:17Z |
|
dc.date.issued |
2564 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80804 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยนี้ศึกษาการกำจัดตะกั่วในน้ำสังเคราะห์ที่ปนเปื้อนโดยใช้ตัวดูดซับชีวภาพจากเปลือกมะละกอ (PP) โดยใช้วิธีการพื้นผิวการตอบสนองแบบบ็อกซ์-เบห์นเคน ผลการทดลองพบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการดูดซับตะกั่วคือ ความเข้มข้นของตะกั่วเริ่มต้นในสารละลาย 96.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าความเป็นกรด-ด่างเท่ากับ 4 ปริมาณตัวดูดซับ 0.73 กรัมต่อ 50 มิลลิลิตร และเวลาสัมผัสเท่ากับ 3 ชั่วโมง นอกจากนี้ได้ทำการปรับปรุงพื้นผิวตัวดูดซับ PP ด้วย PDTC (PP-PDTC) เพื่อเพิ่มความสามารถในการดูดซับ พบว่าผลการดูดซับตะกั่วสำหรับ PP และ PP-PDTC ภายใต้สภาวะที่เหมาะสมมีค่าเท่ากับร้อยละ 97.51 และ 99.12 ตามลำดับ ผลการศึกษาไอโซเทอมของ PP และ PP-PDTC สอดคล้องกับแบบจำลองของฟรุนดลิชและดูบินิน-ราดัชเควิช ตามลำดับ การศึกษาจลนพลศาสตร์ของทั้งสองตัวดูดซับสอดคล้องกับแบบจำลองอันดับสองเทียม การศึกษาอุณหพลศาตร์ของ PP และ PP-PDTC พบว่า เป็นกระบวนการดูดความร้อนและสามารถเกิดขึ้นได้เอง การวิเคราะห์ SEM/EDX พบว่าพื้นผิวเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญหลังจากถูกปรับปรุงด้วย PDTC และหลังจากการดูดซับด้วยตะกั่ว การวิเคราะห์ FTIR พบว่ามีหมู่ฟังก์ชันที่สามารถทำปฏิกิริยากับตะกั่วบนตัวดูดซับ PP และ PP-PDTC และการวิเคราะห์ BET พบว่าปริมาตรรูพรุนและพื้นที่ผิวของตัวดูดซับ PP-PDTC มีขนาดมากกว่า PP การศึกษาค่าร้อยละของการคายซับโดยใช้กรดไนตริกบนตัวดูดซับ PP และ PP-PDTC มีค่าเท่ากับร้อยละ 75.16 และ 92.79 ตามลำดับ |
|
dc.description.abstractalternative |
In this study, lead removal from synthetically contaminated aqueous solutions by papaya bio-absorbent (PP) was investigated by response surface methodology method based on Box-Behnken design. Experimental results showed the optimal conditions to be the initial lead concentration in solution at 96.5 mg/L, the pH of solution at 4, the adsorbent dosage at 0.73 g/50 ml and the contact time at 3 h. In addition, the adsorbent surface of PP was modified by PDTC (PP-PDTC) to increase the adsorption capacity. The results of the percentage of lead adsorption for PP and PP-PDTC under optimal conditions were 97.51% and 99.12%, respectively. Furthermore, the data of the isotherm studies with PP and PP-PDTC were consistent with the Freundlich and Dubinin-Radushkevich models, respectively. The kinetic studies of two adsorbents fitted well with pseudo second-order model. Thermodynamic studies of PP and PP-PDTC were found to be an endothermic process and could occur spontaneously. The SEM/EDX showed that the surfaces were significantly changed after treatment with PDTC and after lead adsorption. The FTIR analysis revealed lead-reactive functional groups on both PP and PP-PDTC adsorbents. And BET showed that pore volume and surface area of PP-PDTC adsorbent were larger than PP. The percentage of desorption using nitric acid on PP and PP-PDTC adsorbents were 75.16 % and 92.79 %, respectively. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.896 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Engineering |
|
dc.title |
การเพิ่มประสิทธิภาพของผงเปลือกมะละกอด้วยสาร PDTC เพื่อดูดซับตะกั่วออกจากน้ำเสียสังเคราะห์ และการทำนายค่าสภาวะการดูดซับที่เหมาะสมโดยใช้วิธีการพื้นผิวตอบสนอง |
|
dc.title.alternative |
Enhancement of papaya peel powder via PDTC for lead adsorption from synthetic waste water and prediction of its optimal adsorption condition using response surface methodology. |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
วิศวกรรมเคมี |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2021.896 |
|