DSpace Repository

การสร้างพื้นผิวค่าแก้สำหรับแบบจำลองยีออยด์ TGM2017 โดยใช้สถานีร่วมค่าความสูงเหนือทรงรีและความสูงออร์โทเมตริก พื้นที่ศึกษา : ปทุมธานี

Show simple item record

dc.contributor.advisor เฉลิมชนม์ สถิระพจน์
dc.contributor.author ฐิติน บัวทอง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-11-02T09:44:32Z
dc.date.available 2022-11-02T09:44:32Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80826
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract ปัจจุบันการสำรวจรังวัดค่าความสูงของภูมิประเทศ หรือ ความสูงออร์โทเมตริก (Orthometric Height) นอกเหนือการรังวัดด้วยอุปกรณ์ประเภทกล้องสำรวจ ยังมีการใช้งานที่แพร่หลายของสมการค่าต่างระหว่างค่าความสูงยีออยด์จากแบบจำลองความสูงยีออยด์ และความสูงทรงรีที่ได้จากการรังวัดโดยระบบนำทางด้วยดาวเทียม (GNSS) ซึ่งมีความรวดเร็วสูง และประหยัดงบประมาณกว่าโดยรวม อย่างไรก็ตามวิธีดังกล่าวมีความคาดเคลื่อนขนาดใหญ่ที่เกิดจากการประมาณค่าผิวยีออยด์ จึงทำให้การรังวัดค่าระดับออร์โทเมตริกด้วย GNSS จากสถานีฐานรับสัญญาณดาวเทียมถาวร (CORS) ไม่ผ่านเกณฑ์การรังวัดค่าระดับตามมาตรฐานในพื้นที่ขนาดเล็ก เช่น ภายในขอบเขตงานก่อสร้าง  ดังนั้นการศึกษานี้ จึงมุ่งเน้นในการสร้างแบบจำลองความสูงยีออยด์ที่พอดีที่สุด (Best Fit) ในพื้นที่ศึกษา โดยการใช้การประมาณค่าภายใน (Interpolation) ด้วยวิธีคริกกิ้ง (Kriging method) สร้างพื้นผิวค่าแก้สำหรับแบบจำลองความสูงยีออยด์ TGM2017 จากสถานีร่วมความสูงออร์โทเมตริกและความสูงเหนือทรงรี เพื่อกำจัดค่าคลาดเคลื่อนขนาดใหญ่จากการประมาณค่าแบบจำลองยีออยด์ ส่งผลให้วิธีการรังวัดค่าความสูงภูมิประเทศโดยการใช้ GNSS มีความถูกต้องทางดิ่งผ่านเกณฑ์งานระดับ งานวิจัยนี้พบว่าหลังจากปรับใช้ค่าแก้ความสูงยีออยด์ ส่งผลให้การตรวจสอบความถูกต้องจากค่ารากที่สองของค่าความคาดเคลื่อนกําลังสองเฉลี่ย (RMSE) ลดลงถึงร้อยละ 88.4 และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ลดลงถึงร้อยละ 82.6 โดยทุกจุดตรวจสอบในพื้นที่ศึกษามีค่าความถูกต้องทางดิ่งผ่านมาตรฐานเกณฑ์งานระดับทั้งหมด
dc.description.abstractalternative In modern survey, Topographic height or Orthometric height can be measured by Global Navigation Satellite System (GNSS) using geoid height equation. GNSS is faster and more economical than using optical survey equipment. However, GNSS has a considerable amount of error from the geoid height interpolation thus the accuracy of an orthometric height derived from Continuously Operating Reference Stations (CORS) does not meet a height measurement standard in a small area such as a construction site. This study focuses on generating the best-fit geoid model in a local area using the Kriging interpolation method. The interpolation generates a correction surface model, from a co-station of Orthometric height and Ellipsoidal height, for TGM2017 to eliminate a considerable amount of error from a geoid height interpolation. It provides the accurate result of GNSS Topographic height measurement which qualifies the height measurement standards. Regarding the result of this study, it reveals that after correcting the geoid height surface the root-mean-squared error (RMSE) decreases by 88.4 percent and the standard deviation decreases by 82.6 percent. Therefore, all the check points qualify the height measurement standards.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.970
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Engineering
dc.title การสร้างพื้นผิวค่าแก้สำหรับแบบจำลองยีออยด์ TGM2017 โดยใช้สถานีร่วมค่าความสูงเหนือทรงรีและความสูงออร์โทเมตริก พื้นที่ศึกษา : ปทุมธานี
dc.title.alternative Generating correction surface for TGM2017 geoid model by using co-station of ellipsoidal height and orthometric height study case : Pathumthani province
dc.type Thesis
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิศวกรรมสำรวจ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2021.970


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record