dc.contributor.advisor |
มาโนช โลหเตปานนท์ |
|
dc.contributor.author |
ธีร์ธัฐ พรหมประดิษฐ์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2022-11-02T09:44:54Z |
|
dc.date.available |
2022-11-02T09:44:54Z |
|
dc.date.issued |
2564 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80852 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564 |
|
dc.description.abstract |
ระบบบริการจักรยานให้เช่าเป็นโหมดการเดินทางที่ไม่มีการปล่อยก๊าซหรือของเสีย ปัจจุบันบริการให้เช่าจักรยานเปิดให้ใช้บริการอย่างแพร่หลายเนื่องจากความตื่นตัวต่อภาวะโลกรวน บริการจักรยานให้เช่าเป็นบริการที่ให้ผู้ที่ต้องการใช้ปั่นจักรยานเข้ามาเช่าจักรยานและคืนจักรยานด้วยตนเอง ณ จุดให้บริการ การดำเนินการของบริการจักรยานให้เช่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลต่อประสบการณ์ผู้เช่าอย่างมาก สำหรับปัญหาการดำเนินการของบริการจักรยานให้เช่า ยกตัวอย่างเช่น กรณี ณ สถานีให้เช่าจักรยานไม่มีพื้นที่ว่างสำหรับคืนจักรยานหรือมีจำนวนจักรยานไม่เพียงพอให้เช่า ซึ่งในตัวอย่างนี้จะส่งผลให้ผู้เช่ารู้สึกไม่พึงพอใจต่อระบบให้เช่าจักรยาน การปรับสมดุลจักรยาน คือ การวางแผนการขนส่งเพื่อที่จะหาเส้นทางที่ดีที่สุด มีจุดประสงค์เพื่อทำให้ผู้ดูแลบริการจักรยานให้เช่าสามารถปรับจักรยานตามลำดับของแผนการขนส่งเพื่อเคลื่อนย้ายจำนวนจักรยานจากจำนวน ณ ขณะปัจจุบัน เป็นจำนวนจักรยาน ณ ที่กำหนดไว้ตามความเหมาะสม โดยปัญหาการปรับสมดุลจักรยานสามารถถูกกำหนดให้อยู่ในรูปของปัญหาเชิงการจัด เพื่อที่สามารถแก้ปัญหาเพื่อหาคำตอบจากการกำหนดโจทย์ทางคณิตศาสตร์ จากอดีตถึงปัจจุบันงานวิจัยที่ศึกษาการใช้การเรียนรู้ด้วยเครื่องเพื่อแก้ปัญหาเชิงการจัด สำหรับวิทยานิพนธ์เล่มนี้ผู้เขียนต้องการที่จะเสนอวิธีภาพรวมการเรียนรู้แบบเสริมกำลังและการค้นหาแบบทาบูเพื่อแก้ปัญหาการปรับสมดุลจักรยานแบบสถิตและทดสอบคุณภาพของคำตอบและเวลาที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาการปรับสมดุลจักรยานให้เช่าแบบสถิต |
|
dc.description.abstractalternative |
Bike sharing system is a zero-emission transport mode which is widely adopted at the time since people are aware of climate change. Bike sharing is a bike rental business that allows users to rent and return by themself, and its operations are the crucial feature that affects user experience. There are many bike sharing problems. For example, if bike sharing station is unable to provide docking space for returning bikes or inadequate bikes for renting, the user may feel dissatisfied. Bike rebalancing solution is a transport planning method that aims to find the best path for bike sharing service providers to relocate bikes from the initial to the final number of bikes at each station. Bike rebalancing problem is often formulated as a combinatorial optimization problem by many researchers to find the solution from its mathematical formulations. In the past, there were many research papers using machine learning for solving combinatorial optimization. In my thesis, I would like to propose reinforcement learning and tabu search overview to solve static bike rebalancing problem and test quality of solution and computational time from solving static bike rebalancing problem. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.921 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Engineering |
|
dc.title |
การแก้ปัญหาการปรับสมดุลจักรยานแบบสถิตด้วยโครงข่ายที่เรียนรู้แบบเสริมกำลังและการค้นหาแบบทาบู |
|
dc.title.alternative |
Solving static bike rebalancing problem with reinforcement learning network and Tabu search |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
วิศวกรรมโยธา |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2021.921 |
|