DSpace Repository

ความทุกข์กับเนื้อหนังในความคิดของเอมมานูเอล ฟาลค์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศริญญา อรุณขจรศักดิ์
dc.contributor.advisor สุวรรณา สถาอานันท์
dc.contributor.author เกรียงศักดิ์ ประสูตร์แสงจันทร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-11-03T02:02:23Z
dc.date.available 2022-11-03T02:02:23Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80863
dc.description วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract รากฐานสำคัญของเทววิทยาคริสต์ศาสนาคือการอธิบายความทุกข์ในประสบการณ์ของมนุษย์ในฐานะผลของบาป และมีหลักความเชื่อว่าพระเยซูเจ้ายอมรับความทุกข์แทนมนุษย์เพื่อไถ่บาปและช่วยให้มนุษย์คืนดีกับพระเจ้า นอกจากนี้ ขนบคำสอนของคริสต์ศาสนาให้ความสำคัญกับวิญญาณแต่มองข้ามกาย จึงเกิดข้อวิพากษ์ว่าเทววิทยาคริสต์ศาสนาไม่สามารถอธิบายความทุกข์ในประสบการณ์ของมนุษย์ อาทิ ความวิตกกังวล ความกลัว และความเจ็บปวดได้อย่างแท้จริงและเพียงพอ เอมมานูเอล ฟาลค์ (Emmanuel Falque) เสนอข้อโต้แย้งว่า ความทุกข์ไม่ใช่ผลของบาป แต่เป็นความจริงเชิงภววิทยา (ontological reality) ของมนุษย์ในฐานะสิ่งที่เสื่อมสลายได้ ความทุกข์เป็นภาวะแห่งข้อจำกัดในเนื้อหนัง (finitude in the flesh) วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอบทวิเคราะห์จุดยืนของฟาลค์ซึ่งอ่านและตีความความวิตกกังวล ความกลัว และความเจ็บปวดในประสบการณ์แห่งความทุกข์ของพระเยซูเจ้าในสวนเกทเสมนีด้วยวิธีการแบบปรากฏการณ์วิทยา และแสดงเหตุผลเพื่อปกป้องแนววิเคราะห์ของฟาลค์โดยอธิบายว่า ความทุกข์ในฐานะข้อจำกัดในเนื้อหนังเป็นความเข้าใจใหม่ในเอกเทวนิยมที่อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างความทุกข์และเนื้อหนังที่ไม่ใช่บาป และไม่ปฏิเสธความจริงแท้ของความทุกข์ในประสบการณ์ของพระเยซูเจ้าและประสบการณ์ของมนุษย์
dc.description.abstractalternative The basis of Christian theology is to elucidate suffering in human experience as sin’s effect and teaches that Jesus takes on human beings’ suffering in order to redeem and help them to reconcile with God. Furthermore, its tradition gives precedence to “soul” overlooking “body”. As a result, Christian theology has been criticized that it is unable to truly and adequately account for suffering in human experience such as anxiety, fear, and pain. Emmanuel Falque argues that suffering is not sin’s effect, but ontological reality of human being as a corruptible thing. Suffering is finitude in human flesh. This thesis analyzes Falque’s position which reads and interprets anxiety, fear, and pain in Jesus’ experience of suffering in Gethsemane through phenomenological approach. In addition, it offers justification in defense of Falque’s analysis by expounding that suffering as finitude in human flesh is a new perspective in monotheism that explains the relationship between suffering and flesh without sin and does not reject any genuineness of suffering in both Jesus’ and human beings’ experience.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.740
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Arts and Humanities
dc.title ความทุกข์กับเนื้อหนังในความคิดของเอมมานูเอล ฟาลค์
dc.title.alternative Suffering and the flesh in the thought of Emmanuel Falque
dc.type Thesis
dc.degree.name อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ปรัชญา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2021.740


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record