DSpace Repository

ปัจจัยการเสื่อมสภาพของน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์สำหรับเครื่องยนต์แกโซลีน-ซีเอ็นจี

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุคคเณศ ตุงคะสมิต
dc.contributor.advisor ดวงกมล ตุงคะสมิต
dc.contributor.author กณิกนันต์ ถิ่นพฤกษ์งาม
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-11-03T02:07:45Z
dc.date.available 2022-11-03T02:07:45Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80918
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract แก๊สธรรมชาติอัดเป็นพลังงานทดแทนที่ได้รับความนิยมในระบบขนส่งสาธารณะ เนื่องจากซีเอ็นจีเป็นพลังงานสะอาด ค่าออกเทนสูงและราคาถูก  เมื่อเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงชนิดอื่นและสามารถใช้งานในรูปแบบของระบบเชื้อเพลิงสองชนิด (dual-fuel)  ในงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาตัวแปรที่มีผลต่อการเสื่อมสภาพของน้ำมันหล่อลื่นมาตราฐานกึ่งสังเคราะห์สำหรับเครื่องยนต์แกโซลีน-ซีเอ็นจี  โดยทำการเก็บตัวอย่างน้ำมันหล่อลื่นตามระยะทางที่กำหนดและทำการวิเคราะห์อิงตามมาตราฐาน ASTM  จากการวิเคราะห์ความหนืดซึ่งเป็นสมบัติสำคัญของน้ำมันหล่อลื่นที่อุณหภูมิ 40 °C และ 100 °C พบว่าที่อุณหภูมิ 100 °C ความร้อนส่งผลให้เกิดการสลายพันธะภายในโมเลกุลทำให้ฟิล์มน้ำมันมีลักษณะบางลงและเป็นตัวเร่งต่อการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน  โดยผลิตภัณฑ์ของปฏิกิริยาออกซิเดชันสามารถวิเคราะห์ด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทสโกปี (FT-IR) แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของน้ำมันหล่อลื่นเนื่องจากหมู่ฟังก์ชันคาร์บอนิล (C=O) มีความเข้มข้นจากผลิตภัณฑ์ของออกซิเดชัน และมีผลทำให้ปริมาณกรดและค่าความหนืดเพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้ชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ถูกกัดกร่อน  จากการวิเคราะห์ปริมาณเบสในน้ำมันหล่อลื่นที่บ่งชี้ถึงประสิทธิภาพของสารทำความสะอาด  พบว่าที่ระยะทางมากกว่า 15000 กิโลเมตร ความเข้มข้นของสารเติมแต่งอัลคาไลน์จะลดลงครึ่งหนึ่งจากปริมาณเริ่มต้น  แสดงให้เห็นถึงการเสื่อมสภาพของสารเติมแต่งจากความเข้มข้นของสิ่งสกปรกที่เกิดขึ้น เช่น ฝุ่น น้ำ โลหะและเขม่า
dc.description.abstractalternative Compressed natural gas (CNG) as alternative energy has gained attention in public transport. The CNG is clean energy, high octane, and less expensive than other fuels and can be operated in a dual-fuel engine system. This research studied various factors that affect the degradation of semi-synthetic engine lubricants for the gasoline-CNG engine. Samples were collected by distances. The lubricant oil analysis was conducted based on various ASTM methods. The kinematic viscosity (KV) analysis is an important property of Lubricant oil. It was measured at the temperatures of 40 and 100 °C. At 100 °C, the KV decreased from the heating phase, causing the intramolecular bonds to break, making the oil film thinner and leading to a catalytic oxidation reaction. The Fourier transform infrared (FTIR) spectroscopy showed that the lubricants undergo chemical changes in their properties due to the increasing of the carbonyl functional (C=O) concentration by oxidation product. The result indicated increased acid content and KV. It affects the corrosion of the internal engine parts. The total base number analysis indicates the cleaning agent performance of the lubricant. It was found that at the distance over 15,000 km, the concentration of alkaline additive reduces half the amount of additive. This demonstrated that additives have been degraded from contaminations, such as dirt, water, metal, and soot.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.744
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Chemistry
dc.title ปัจจัยการเสื่อมสภาพของน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์สำหรับเครื่องยนต์แกโซลีน-ซีเอ็นจี
dc.title.alternative Degradation factors of semi-synthetic lubricant oil for gasoline-CNG engine
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2021.744


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record