DSpace Repository

ผลการจัดกิจกรรมขับร้องประสานเสียงตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังที่มีต่อทักษะการฟังและคุณลักษณะสนับสนุนเกื้อกูล

Show simple item record

dc.contributor.advisor ดนีญา อุทัยสุข
dc.contributor.author ธนัญญา จตุรานนท์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-11-03T02:23:43Z
dc.date.available 2022-11-03T02:23:43Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80953
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเสริมสร้างทักษะการฟังผ่านการจัดกิจกรรมขับร้องประสานเสียงตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลัง 2) เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะสนับสนุนเกื้อกูลผ่านการจัดกิจกรรมขับร้องประสานเสียงตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลัง ตัวอย่างในงานวิจัยนี้ได้แก่นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ที่เรียนวิชาขับร้องประสานเสียง จำนวน 17 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบทักษะการฟัง 2) แบบสังเกตพฤติกรรมด้านทักษะการฟัง 3) แบบประเมินตนเองด้านทักษะการฟังของนักเรียน 4) แบบสังเกตพฤติกรรมด้านคุณลักษณะสนับสนุนเกื้อกูล 5) แบบประเมินตนเองคุณลักษณะสนับสนุนเกื้อกูล และ 6) แบบสอบถามสังคมมิติ วิเคราะห์ผลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย (ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (M) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)) และสถิติเชิงอ้างอิงแบบกลุ่มเดียว (t-Test) วิเคราะห์เชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านทักษะการฟัง นักเรียนมีคะแนนทักษะการฟังสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมขับร้องประสานเสียงตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนสามารถปฏิบัติทักษะการฟังและขับร้องให้ตรงตามระดับเสียงได้ดีและไพเราะมากขึ้นหลังการจัดกิจกรรม 2) ด้านคุณลักษณะสนับสนุนเกื้อกูล นักเรียนมีการแสดงพฤติกรรมด้านการสนับสนุนเกื้อกูลในระดับบ่อยครั้ง (M = 4.19, SD = .31) คะแนนการประเมินตนเองของนักเรียนสูงสุดในด้าน “ฉันรับฟังเมื่อเพื่อนเสนอความคิดเห็น” สอดคล้องกับผลจากการสังเกตของผู้วิจัย นอกจากนี้ยังพบว่ามีเส้นความสัมพันธ์ด้านสังคมมิติเพิ่มขึ้น 30 เส้น และมีความซับซ้อนมากขึ้นหลังการจัดกิจกรรม 6 คาบ
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to 1) promote listening skills using collaborative learning approach in choral classroom activities and 2) promote sense of caring for others using collaborative learning approach in choral classroom activities. 17 participants were third grade students in choir class from Chulalongkorn University Demonstration Elementary School. The tools used in this research were 1) listening skills test, 2) observation form on listening skills, 3) student’s self-evaluation form on listening skills, 4) observation form on sense of caring for others, 5) student’s self-evaluation form on sense of caring for others and 6) sociometry. Quantitative data were analyzed using descriptive statistic (mean (M) and standard deviation (SD)) and student’s t-Test. Qualitative data were analyzed using content analysis method. The research results are as followed. 1) Students had developed listening skills statistically at .05 level and improved their singing skills after participating choir classes using collaborative learning approach. 2) In average, students’ caring and sharing behaviors can be observed frequently across 6 times of activities (M = 4.19, SD = .31). The highest score of student’s self-evaluation was “listening to other people’s opinion” which match with the researcher’s observation. Moreover, the sociograms show 30 new bonds, and students’ relationship getting more complex after 6 times of activities.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.608
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title ผลการจัดกิจกรรมขับร้องประสานเสียงตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลังที่มีต่อทักษะการฟังและคุณลักษณะสนับสนุนเกื้อกูล
dc.title.alternative Effects of choral classrooms activities using collaborative learning approach on listening skills and sense of caring for others
dc.type Thesis
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ดนตรีศึกษา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2021.608


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record