DSpace Repository

การพัฒนารูปแบบการสอนวรรณคดีโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R ร่วมกับการเล่าเรื่องแบบดิจิทัล เพื่อส่งเสริมความสามารถการวิพากษ์วิจารณ์วรรณคดีไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา

Show simple item record

dc.contributor.advisor เนาวนิตย์ สงคราม
dc.contributor.author ปาริชาต จารุดิลกกุล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-11-03T02:23:50Z
dc.date.available 2022-11-03T02:23:50Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80965
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนวรรณคดีโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R ร่วมกับการเล่าเรื่องแบบดิจิทัล เพื่อส่งเสริมความสามารถการวิพากษ์วิจารณ์วรรณคดีไทย 2) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการสอนวรรณคดีโดยใช้การสอนแบบ SQ4R ร่วมกับการเล่าเรื่องแบบดิจิทัล เพื่อส่งเสริมความสามารถการวิพากษ์วิจารณ์วรรณคดีไทย โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 40 คน ระยะเวลาในการทดลอง 5 สัปดาห์ (15 คาบเรียน) โดยการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling method) เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบประเมินรูปแบบการสอนวรรณคดีโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R ร่วมกับการเล่าเรื่องแบบดิจิทัล และแผนการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถการวิพากษ์วิจารณ์วรรณคดีไทยและแบบสอบถามความคิดเห็นในการเรียนโดยใช้รูปแบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการสอนวรรณคดีโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R ร่วมกับการเล่าเรื่องแบบดิจิทัล เพื่อส่งเสริมความสามารถการวิพากษ์วิจารณ์วรรณคดีไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1)  เนื้อหาวรรณคดีไทย 2) กิจกรรมการเรียนรู้ 3) ใบงาน 4) การประเมินผล 5) แหล่งการเรียนรู้และเครื่องมือ โดยมี 4 ขั้นตอน ได้แก่  1) ขั้นวางแผนระดมความคิด 2) ขั้นอ่านเอาเรื่อง 3) ขั้นวิเคราะห์ 4) ขั้นวิพากษ์วิจารณ์ ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอนฯ พบว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการวิพากษ์วิจารณ์วรรณคดีไทยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (t-test = -9.128)
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were 1) to develop a literature teaching model using SQ4R teaching and digital storytelling to enhance student's abilities in Thai literature criticism, 2) to study the results of using a literature teaching model using SQ4R teaching and digital storytelling. The participants in the model experiment were 40  Matthayomsuksa 1/2 secondary school students. They were selected using the purposive sampling method. The experiment period was five weeks (15 class periods). This research consisted of a one group pretest–posttest design. The research instruments used were model evaluation form and a lesson plan. The data collection instruments comprised of a Thai literature criticism test, and a questionnaire of student's opinions toward the model. The data were analyzed using mean, standard deviation and t-test. The result showed that a literature teaching model using SQ4R teaching and digital storytelling to enhance secondary school student’s abilities in Thai literature criticism required five components: 1) literature content, 2) learning activities, 3) worksheets 4) test and 5) learning resources and learning tools. The learning process consisted of 4 steps: 1) brainstorming planning 2) reading comprehension 3) analytical, and 4) critical. The result of the experiment using the teaching model was that student's average post-test score of ability to criticism of Thai literature was significantly higher than their average pre-test score at .05 (t-test = -9.12)
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.452
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Arts and Humanities
dc.title การพัฒนารูปแบบการสอนวรรณคดีโดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R ร่วมกับการเล่าเรื่องแบบดิจิทัล เพื่อส่งเสริมความสามารถการวิพากษ์วิจารณ์วรรณคดีไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา
dc.title.alternative Development of a literature teaching model using the SQ4R teaching method and digital storytelling to enhance secondary school students’ abilities in Thai literature criticism
dc.type Thesis
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2021.452


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record