DSpace Repository

การศึกษาการกลายพันธุ์บนตำแหน่ง Y-STR ที่มีอัตราการกลายพันธุ์รวดเร็วจำนวนสองตำแหน่งในชายไทยที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด

Show simple item record

dc.contributor.advisor กรเกียรติ วงศ์ไพศาลสิน
dc.contributor.author พิมพ์พิศมัย แขดอน
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2022-11-03T02:36:27Z
dc.date.available 2022-11-03T02:36:27Z
dc.date.issued 2564
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80993
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
dc.description.abstract Y chromosome short tandem repeat (Y-STR) ถูกใช้อย่างแพร่หลายในงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ เช่น การตรวจการล่วงละเมิดทางเพศ, การตรวจพิสูจน์ความสัมพันธ์พ่อ-ลูกชาย เนื่องจาก Y-STR มีความจำเพาะในเพศชาย อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของ Y-STR คือไม่สามารถใช้ในการระบุตัวบุคคลของชายมีความใกล้ชิดทางสายเลือดเพราะ Y-STR มีรูปแบบ haplotype ที่เหมือนกันในครอบครัว ในการศึกษานี้ทำการศึกษาการกลายพันธุ์ของชายที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดในตำแหน่ง DYF399S1 และตำแหน่ง DYF403S1a/b ซึ่งเป็น Y-STR ที่มีอัตราการกลายพันธุ์ที่รวดเร็ว (Rapidly Mutating Y-STR (RM Y-STR)) ในคู่พ่อและลูกชายชาวไทยจำนวน 150 คู่ จากผลการศึกษาพบการกลายพันธุ์ของคู่พ่อและลูกชายจำนวน 10 คู่ในตำแหน่ง DYF399S1 และ 3 คู่ในตำแหน่ง DYF403S1a แต่ไม่พบการกลายพันธุ์ในตำแหน่ง DYF403S1b โดยตำแหน่ง DYF399S1 มีอัตราการกลายพันธุ์เท่ากับ 6.67 x 10-2 ต่อตำแหน่งต่อรุ่น ตำแหน่ง DYF403S1a อัตราการกลายพันธุ์เท่ากับ 2.00 x 10-2 ต่อตำแหน่งต่อรุ่น ดังนั้นทั้งสองตำแหน่งนับว่าเป็น Y-STR ที่มีอัตราการกลายพันธุ์ที่รวดเร็วในชายที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดชาวไทย
dc.description.abstractalternative Y chromosome short tandem repeat (Y-STR) is widely used in forensic science, such as sexual assault testing and paternity testing due to their male-specific property. However, Y-STR cannot differentiate in close-related male individuals because the same haplotype is shared in the family. In this research, we study mutation patterns and calculate the mutation rate in DYF399S1 loci and DYF403S1a/b loci, which are rapidly mutating Y-STR (RM Y-STR), in 150 Thai father-son pairs. According to the results, the mutation has been observed in DYF399S1 (10/150) and DYF403S1a (3/150) loci. No mutation observed in DYF403S1b locus. The mutation rate is 6.67 x 10-2 and 2.00 x 10-2 per locus per generation for DYF399S1 and DYF403S1a, respectively. Therefore, in this study, these two loci (DYF399S1 and DYF403S1a) were RM Y-STRs in Thai population.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.826
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title การศึกษาการกลายพันธุ์บนตำแหน่ง Y-STR ที่มีอัตราการกลายพันธุ์รวดเร็วจำนวนสองตำแหน่งในชายไทยที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด
dc.title.alternative The mutation study of two rapidly mutating Y-STRs in closely related Thai males
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์การแพทย์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2021.826


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record