Abstract:
การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความยืดหยุ่นทางอารมณ์และสุขภาพจิต ของนักเรียนเตรียมทหารกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 1 และ 2 ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2563ในโรงเรียนเตรียมทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ จำนวน 528 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความยืดหยุ่นทางอารมณ์และแบบวัดดัชนีชี้วัดความสุขของคนไทยฉบับสั้น
ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนเตรียมทหาร มีสุขภาพจิตสูงกว่าปกติ ร้อยละ 66.7 มีสุขภาพจิตปกติ ร้อยละ 28.0 และมีสุขภาพจิตต่ำกว่าปกติ ร้อยละ 5.3 มีความยืดหยุ่นทางอารมณ์สูงกว่าปกติ ร้อยละ 43.4 มีคะแนนความยืดหยุ่นทางอารมณ์เท่ากับปกติ ร้อยละ 49.8 และมีความยืดหยุ่นทางอารมณ์ต่ำกว่าปกติ คิดเป็นร้อยละ 6.8
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกับระดับสุขภาพจิตพบว่า จำนวนสมาชิกในครอบครัว เกรดเฉลี่ยสะสมปัจจุบัน รายวิชาที่ชอบ และ จำนวนเพื่อนสนิทที่สามารถปรึกษาได้เมื่อมีปัญหามีความสัมพันธ์กับระดับสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยจำนวนเพื่อนสนิทที่สามารถปรึกษาได้เมื่อมีปัญหาและรายวิชาที่ชอบ สามารถทำนายระดับสุขภาพจิตได้ โดยสามารถเขียนสมการทำนายได้ดังนี้
ระดับสุขภาพจิต =.540 + .708FriendGroup(2)+ .716Subjectgroup(3)
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยืดหยุ่นทางอารมณ์พบว่า การดำรงตำแหน่งบังคับบัญชา จำนวนสมาชิกในครอบครัว จำนวนเพื่อนสนิทที่สามารถปรึกษาได้เมื่อมีปัญหา และ การมีคณะหรือสาขาที่อยากเรียนในโรงเหล่าทัพ มีความสัมพันธ์กับระดับความยืดหยุ่นทางอารมณ์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยจำนวนเพื่อนสนิทที่สามารถปรึกษาได้เมื่อมีปัญหาและการมีคณะหรือสาขาที่อยากเรียนในโรงเรียนเหล่าทัพสามารถทำนายระดับความยืดหยุ่นทางอารมณ์โดยสามารถเขียนสมการทำนายได้ดังนี้
ระดับความยืดหยุ่นทางอารมณ์ =1.190 + .967 FriendGroup(2) + .428Faculty(1)
ผลการศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่าสุขภาพจิตและและความยืดหยุ่นทางอารมณ์ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับความยืดหยุ่นทางอารมณ์อยู่ที่ .736อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า สุขภาพจิตมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับด้านความมั่นคงทางอารมณ์อยู่ที่ .683อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับด้านกำลังใจอยู่ที่ .635อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับด้านการจัดการกับปัญหาอยู่ที่ .636อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าจำนวนเพื่อนสนิทมีความสำคัญต่อความยืดหยุ่นทางอารมณ์และสุขภาพจิตของนักเรียนเตรียมทหาร ซึ่งเป็นประโยชน์ในการใช้เป็นแนวทางในการฝึกศึกษาของนักเรียนเตรียมทหาร เช่น การพัฒนามนุษยสัมพันธ์และการส่งเสริมการให้คำปรึกษาแก่เพื่อนนักเรียนเตรียมทหารเป็นต้น